กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก

นายเกียรติศักดิ์นามวิเศษ
นางจีรนันท์ นามวิเศษ
นางสาวสุภาพร ทุมชะ
นางสาวกฤษณาสำรวมใจ
นางสาวทองเพชรบรรเทาพิษ

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับด้วยการตรวจอุจจาระ

 

20.00

มะเร็งตับเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับห้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นอันดับสามในประเทศกำลังพัฒนา พบมากในประเทศแถบตะวันออกเช่นไทย มาเลเซีย ฮ่องกง เกาหลี อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์พบน้อยในยุโรปและอเมริกา (Zakim& Boyer, 2003) จากข้อมูลการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยพบอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับในปี 2549-2553 คิดเป็น 20.58, 20.21, 21.19, 21.32 , 22.28, 21.6 และ 22 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ (สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข,2554) มะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือโรคมะเร็งของเซลล์ตับ (Hepatocellularcarcinoma : HCC) และโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ (Cholangiocarcinoma : CHCA) โดยเฉพาะมะเร็งท่อน้ำดีจะพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีตับคือการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จากพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทปลาน้ำจืดดิบหรือสุกๆดิบๆ และการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสาร Nitrosamine เช่น ปลาร้า แหนม กุนเชียง ฯ จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดหนึ่งที่พบอัตราการตายของประชากรด้วยโรคมะเร็งตับเป็นอันดับแรกของพื้นที่ จากการศึกษาสาเหตุการตายของประชากรจังหวัดหนองบัวลำภู 5 ปีย้อนหลัง(พ.ศ.2549-2553) พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับเท่ากับ 49.55 (249 ราย),48.84(248 ราย),55.95(280ราย),53.41(248ราย) และ51.12(239 ราย)ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภู จากการสำรวจความชุก การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ประชาชนจังหวัดหนองบัวลำภู ปี2555 ทุกอำเภอรวม 6 อำเภอ ๆ ละ 5 หมู่บ้านๆละ 50 ราย สุ่มหมู่บ้านแบบมีระบบ(Systematic Random Sampling)เก็บอุจจาระตั้งแต่กลุ่มอายุ11-20ปี ,21-30ปี, 31-40ปี, 41-50ปี,51-60ปี และ60ปีขึ้นไป กลุ่มละ10 ราย ชาย 5 รายและหญิง 5 ราย ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิโดยวิธี Kato's Thick smear ในเดือน สิงหาคม 2559ผลการสำรวจพบว่าประชาชน 1,568 รายติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.84 เพศชายพบติดเชื้อมากกว่าเพศหญิง (8.5 : 7)กลุ่มอายุที่พบอัตราติดเชื้อสูงที่สุด คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป(ร้อยละ 10.24)รองลงมาคือ 41-50 ปี(ร้อยละ9.04) ,51-60 ปี(ร้อยละ8.79) ,31-40 ปี(ร้อยละ7.09) ,21-30 ปี(ร้อยละ5.36) และกลุ่มอายุต่ำกว่า 21 ปี (ร้อยละ4.41) ตามลำดับอำเภอโนนสัง พบอัตราติดเชื้อสูงที่สุด (ร้อยละ 11.62)รองลงมาคือ อำเภอเมือง (ร้อยละ 9.39)และจากสถิติการเสียชีวิตของประชาชนในอำเภอศรีบุญเรืองย้อนหลังพบว่า สาเหตุการเสียชีวิต ระหว่าง ปี 2559 -2562 มะเร็งตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2อัตราตายคิดเป็นร้อยละ 0.045,0.048 และ 0.046 ซึ่งจากสถิติดังกล่าว รพ.สต.หนองแก จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดี และมะเร็งตับเครือข่าย ปี 2563 เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยพยาธิใบไม้ตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับ 2 เพื่อให้การรักษาในรายที่พบไข่พยาธิใบไม้ตับและพยาธิชนิดต่างๆ

ประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจหาพยาธิใบไม้ตับด้วยการตรวจอุจจาระ ร้อยละ 20โดยจะต้องผ่านการคัดกรองด้วยวาจาก่อน จำนวน 380 คน

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 380
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ

ชื่อกิจกรรม
แก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับ โดยใช้ระยะเวลา 1 วัน
  2. การจ่ายยา praziquantelและพยาธิอื่นๆตามชนิดที่ตรวจพบสถานที่ รพ.สต.หนองแก
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับ
  2. ให้การรักษาในรายที่พบไข่พยาธิใบไม้ตับและพยาธิชนิดต่างๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ตำบลหนองแกลดลง
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดีน้อยลง


>