กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการเด็ก 0 - 5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก

นายเกียรติศักดิ์นามวิเศษ
นางจีรนันท์ นามวิเศษ
นางสาวสุภาพร ทุมชะ
นางสาวกฤษณาสำรวมใจ
นางสาวทองเพชรบรรเทาพิษ

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

 

90.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ หลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วง 0 – 5 ปี เพราะเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต เรื่องของพัฒนาการเด็กนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่ง จะมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากจะประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้าหรือหยุดชะงักแล้ว ยังพบว่า จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่าย ไม่ร่าเริงแจ่มใสมีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆปัจจุบันพบว่าผู้ปกครองมีความตระหนักหรือมีความเข้าใจและสนใจในการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM) และ คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง (DAIM) น้อยแม้ว่าจะมีคู่มือเตรียมพร้อมและได้มอบให้พ่อแม่ทุกคนที่มาคลอดและที่ติดตามมารับวัคซีนแล้วก็ตาม โดยปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้นำคู่มือเฝ้าระวังส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM/DAIM) นี้ มาใช้เพื่อตรวจวัดระดับพัฒนาการของเด็กใน ๕ กลุ่มวัย คือเด็กที่มีอายุ 9, 18, 30, 42 และ 60 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุ 0 – 5 ปี และจากการประเมินผลวิเคราะห์ข้อมูลงานพัฒนาการเด็กในสามปีย้อนหลังนั้น พบว่าในประเทศไทยมีเด็กพัฒนาการล่าช้า กว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๓.๕ ล้านคน ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแกนั้น พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๗.๕๖ นอกจากนี้ยังพบว่า กว่าร้อยละ ๗๐ ของผู้ปกครองเด็ก0 – 5 ปียังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ จากข้อมูลดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารกับผู้ปกครองเด็ก พ่อแม่เด็กตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ หลังคลอด เยี่ยมหลังคลอด ไปจนถึงการติดตาม การตรวจ ส่งเสริม และกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ๐-๕ ปี ให้มีมาตรฐาน ครบถ้วนและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ – 5 ปีนี้ขึ้น เพื่อมาพัฒนาวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการที่จะส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ไม่เป็นภาระของครอบครัวหรือสังคมต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม 2. เพื่อให้เด็ก 0 – 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้า ให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม ทันเวลา 3. เพื่อปรับปรุง “มุมพัฒนาการเด็ก”ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก ให้มีมาตรฐาน
  1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. เด็ก 0 – 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้า ได้รับการรักษาหรือส่งต่อที่ทันท่วงที ทุกราย
  3. ผู้ปกครอง-ผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0 - 5 ปี
90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาการและโภชนาการเด็ก การตรวจและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาการและโภชนาการเด็ก การตรวจและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง พัฒนาการและโภชนาการเด็ก การตรวจและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก กลุ่มเป้าหมาย
     - ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก  จำนวน    50 กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงมุมพัฒนาการสำหรับเด็ก 0 – 5 ปี
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจพัฒนาการเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. เด็ก 0 – 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้า ได้รับการรักษาหรือส่งต่อที่ทันท่วงที ทุกราย
  3. ผู้ปกครอง-ผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก 0 - 5 ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0– 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
2. เด็ก 0– 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้า ให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม ทันเวลา
3. มี“มุมพัฒนาการเด็ก”ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก


>