กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจโลหิตหาสารคลอรีนเอสเตอเรสในเกษตรกรตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชุมภูพร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจโลหิตหาสารคลอรีนเอสเตอเรสในเกษตรกรตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชุมภูพร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมภูพร

ตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ตำบลชุมภูพร เป็นตำบลที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนาปี ทำไร่ ทำสวนยางพารา ซึ่งมีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช โดยผลกระทบจากการใช้สารเคมีอาจจะส่งผลกับสุขภาพได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้สารเคมีที่ไม่ถูกวิธีและขาดความรู้การสัมผัสสารเคมีตกค้างจากอาหาร หรือสิ่งแวดล้อมตามห้วย หนอง-คลอง-บึง เป็นต้น
จากผลการตรวจเลือดเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกรพื้นที่ตำบลชุมภูพร ในปี ๒๕๖2 จำนวน 1,300 ราย ผลการตรวจพบว่า ปกติ ร้อยละ ๑2.๓ ,ปลอดภัย ร้อยละ ๓๘ ,เสี่ยงร้อยละ๓๘.๘ ,ไม่ปลอดภัย ร้อยละ ๔ แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรในพื้นที่ตำบลชุมภูพร ร้อยละ ๔๒.๙มีสารเคมีตกค้างอยู่ในกระแสเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่จะนำไปเป็นสาเหตุของโรคในอนาคต ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมภูพร จึงเล็งเห็นความสำคัญในการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเกษตรกรตำบลชุมภูพร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖3ต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังโรคจากการใช้สารเคมี และประเมินสารเคมีที่ตกค้างในเลือดเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลคืนสู่ชุมชนและเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนปฏิบัติงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปตามกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด

๑.เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปตามกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 ๒.เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปตามกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องพิษภัยสารเคมีจากการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๐๐

๒.เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปตามกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้เรื่องพิษภัยสารเคมีจากการประกอบอาชีพ ร้อยละ ๑๐๐

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1300 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1300 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจเลือดหาสารเคมีในเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 1300 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กรกฎาคม 2563 ถึง 10 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21525.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,525.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกรในพื้นที่ มีความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมีจากการประกอบอาชีพอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระยะยาว เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดเมื่อปฏิบัติงานเป็นผู้สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับสารเคมี
๒. เกษตรกรได้ตรวจเลือดหาเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเลสเพื่อประเมินสภาพร่างกาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพตนเองจากสารเคมี
4. เกษตรกรในพื้นมีความรู้เรื่องพิษภัยของสารเคมีจากการประกอบอาชีพอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในระยะยาว เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดเมื่อปฏิบัติงานเป็นผู้สัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับสารเคมี
5. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>