กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก

นางสาวกมลพรแก้วบุญเรือง
นางสาวกฤษญาภรณ์ถิ่นถาน
นางสาวณัฐญดาหลักหาญ
นางสาวสุทิศากลยนี
นางสาวสุภาพรศรีคูเมือง

ศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ

 

22.00

ปัจจุบันเนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมของบุคคลที่มีปัจจัยหลายๆด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลที่มาจากพันธุกรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กิจกรรมการดำเนินงานหลายวิธี และใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จึงเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมกับประชาชน ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดให้ตัวแทนภาคประชาชน ได้แก่ ตัวแทนชุมชน ตัวแทน อสม. สมาชิกสภาเทศบาล ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 และประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 เทศบาลตำบลหนองแก ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 8 อุดรธานีได้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแกขึ้น เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการบริหารสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่ ส่งเสริมให้กลุ่มที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น แม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเสี่ยง ผู้ป่วยเรื้อรังและที่จำเป็นต่อสุขภาพในการดำรงชีวิต
ดังนั้น จึงได้จัดโครงการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖3 ขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก ให้สามารถบรรลุตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะต้องมีการพัฒนาคณะกรรมการกองทุนสุขภาพฯ ให้มีความรู้ ความสามารถ เป็นคณะกรรมการที่มีบทบาทในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในระดับพื้นที่มีความเข้าใจในการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนสุขภาพฯ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหนองแก ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน 2. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพี่อหาแนวทางที่ดีที่สุดไปปรับใช้ในท้องถิ่น
  1. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความตระหนัก เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนมากยิ่งขึ้น
  2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  3. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ และนำแนวทางที่ดีที่สุดมาปรับใช้ในท้องถิ่น
22.00 22.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 22

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพและศึกษาดูงาน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพและศึกษาดูงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก
  2. ขออนุมัติดำเนินโครงการประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน ประจำปีงบประมาณ 2563 เสนอต่อประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหนองแก เพื่อขออนุมัติค่าใช้จ่ายตามโครงการ
  3. จัดอบรม และศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วันที่ 6 – 7 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563           ณ เทศบาลตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
  4. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความตระหนัก เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนมากยิ่งขึ้น
  2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  3. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ และนำแนวทางที่ดีที่สุดมาปรับใช้ในท้องถิ่น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
66447.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,447.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความตระหนัก เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนมากยิ่งขึ้น
2. คณะกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจในการกำหนดปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
3. คณะกรรมการกองทุนฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ และนำแนวทางที่ดีที่สุดมาปรับใช้ในท้องถิ่น


>