กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1,2,9,10 ตำบลบ้านแก่ง

1.นางพรพิมลปักษี
2.นางรุ่งนภา พ้องพาล
3.นางจำเลย พรมนรินทร์
4.นางรินนภา แพรพันธ์
5.นางศุกร์ ศึกษา

ในเขตของ รพ.สต.บ้านแก่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

19.83
2 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา และทางเท้า

 

92.67
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตควบคุมได้ตามเกณฑ์

 

86.64

หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมากหากผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้น้อยลงซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนั้นมักเกิดขึ้นกับระบบต่างๆของร่างกายได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด ตา ไต เท้า บางรายมีความพิการของร่างกาย เช่นอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม ตามองไม่เห็นไตวาย เป็นแผลที่เท้าต้อง ตัดนิ้ว ตัดขา เสียภาพลักษณ์เป็นปัญหาต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
เกิดจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ถูกต้องแต่สามารถป้องกันได้หากรู้เข้าใจ และปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ ได้ถูกต้อง เพราะจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเกิดโรคได้ โรคติดต่อเกิดจากความผิดปกติหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถที่จะติดต่อไปหาบุคคลอื่นได้ แต่เป็นสาเหตุการป่วย และสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของประชาชนไทยในปัจจุบัน ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคมะเร็ง ซึ่งโรคดังกล่าว สาเหตุการเกิดส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ และสาเหตุอื่นอีกมากมาย เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคและรับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเหมือนเดิม โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บางคนมีภาวะเครียดจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงจากประสิทธิภาพการประกอบอาชีพของตนเองลดลง บางคนไม่มีอาการของโรคก็ไม่ยอมรับประทานยาอย่างต่อเนื่องไม่ไปพบแพทย์ตามนัด และกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นวัยสูงอายุ รองลงมาเป็นวัยแรงงานซึ่งอวัยวะในร่างกายมีการทำงานที่ด้อยประสิทธิภาพลงตามอายุที่มากขึ้นทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อนนั้นกับระบบต่างๆของร่างกาย
จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก่ง ปีงบประมาณ 2563 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 229 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 646 คน รวมทั้งหมด 875 คน พบมีภาวะแทรกช้อนทางตาไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด มีภาวะอ้วนลงพุง จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 21.37 ถือว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั้งสิ้น
ดังนั้นเพื่อสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1,2,9,10ตำบลบ้านแก่ง ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลบ้านแก่ง จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังเพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยได้มีความรู้ในการดูแลตนเอง และได้รับการตรวจสุขภาพคัดกรองหาภาวะเสี่ยงอื่นๆที่จะเกิดขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มป่วยให้มีความรู้ในการการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจและคัดกรองภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดัน โลหิตสูง 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี

1.ร้อยละ 90 ของกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง 2.ร้อยละ 90 ของกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนโรคหัวใจและหลอดเลือด  ตา ไต เท้า 3.ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี 4.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

40.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 348
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กลวิธีดำเนินงาน 1.รวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.ประชุมภาคีเครือข่าย อสม.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน จิตอาสา นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลปัญหา หาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน 3.อบรมให้ความรู้เรื่อง 3.1 โรคทางตา, การป้องก

ชื่อกิจกรรม
กลวิธีดำเนินงาน 1.รวบรวมข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2.ประชุมภาคีเครือข่าย อสม.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน จิตอาสา นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอข้อมูลปัญหา หาแนวทางปฏิบัติร่วมกัน 3.อบรมให้ความรู้เรื่อง 3.1 โรคทางตา, การป้องก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ - ค่าป้ายโครงการขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 348 คน เป็นเงิน 17,400 บาท - ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม 2 มื้อ ๆละ 25บาท จำนวน  348 คน เป็นเงิน 17,400 บาท - ค่าวิทยากรในการอบรมและตรวจตา จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท 2 วัน  เป็นเงิน 7,200 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,450 บาท (สี่หมื่นสองพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคแทรกซ้อนมากขึ้น และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>