กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลฮูดาย์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลฮูดาย์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน ซึ่งการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กจะทำเพียงลำพังโดยคนหนึ่งคนใดไม่ได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลฮูดาย์ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลควนสตอขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑.นักเรียน ผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสำหรับเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ข้อที่ ๒.ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถนำความรู้เรื่องการทำอาหารไปปรับใช้ในการปรุงอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ ข้อที่ ๓.ผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างง่ายได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -ศูนย์พัฒนาเล็กเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ ไม่เกินร้อยละ ๑๐ -นักเรียน ผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลควนสตอ ร้อยละ ๙๐ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการและภาวะโภชนาการในเด็ก ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สามารถปรุงอาหารให้เด็กรับประทานได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็กสามารถผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลฮูดาย์

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมพัฒนาการและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดดารุลฮูดาย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
๑.๑ กิจกรรมย่อย.....
- กิจกรรมให้ความรู้กับนักเรียน ผู้ปกครองครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้ปรุงอาหารเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการในเด็กและหลักโภชนาการในกลุ่มเด็ก ๑.๑ กิจกรรมย่อย… - ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็ก แบ่งกลุ่มคิดเมนูอาหารและออกมานำเสนอโดย - คิดชื่อเมนูอาหารมา ๑ อย่าง - บอกส่วนผสมและวิธีการทำ - บอกคุณประโยชน์ที่เด็กได้รับว่ามีสารอาหารอะไรบ้าง - ค่าวิทยากร ๓ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาท
เป็นเงิน ๙๐๐.-บาท - ค่าอาหารกลางวัน(อาหารชุด) ๑๒๕ คน คนละ ๑ มื้อๆละ  ๗๐ บาท เป็นเงิน ๘,๗๕๐.-บาท
- ค่าอาหารว่าง ๑๒๕ คน คนละ ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๖,๒๕๐.-บาท - ค่าป้ายไวนิลขนาดกว้าง ๑.๕๐ x ๒ เมตรๆ ๑๕๐.-บาท เป็นเงิน ๔๕๐.- บาท -ค่าชุดคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ ๒-๕ ปี (DSPM) กระทรวงสาธารณสุข จำนวน ๒ ชุดๆละ ๓,๐๐๐.-บาท เป็นเงิน ๖,๐๐๐.-บาท -ค่ากระดาษชาร์ต จำนวน ๕ แผ่นๆละ ๕.-บาท เป็นเงิน ๒๕.- บาท -ค่าปากกาเคมี จำนวน ๑๐ ด้ามๆละ ๑๕ บาท เป็นเงิน ๑๕๐.- บาท -เทปใส จำนวน ๑ ม้วนๆละ ๒๐ บาทเป็นเงิน ๒๐.- บาท  วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๖      ถึง
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๖ ชนิดกิจกรรม งบประมาณ    ระบุวัน/ช่วงเวลา ๒. กิจกรรมให้ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง ๑.๑ กิจกรรมย่อย.....
-กิจกรรมแบ่งกลุ่มผลิตสื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เป็นเงิน ๒,๔๕๕.-บาท

หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้    รวม  -๒๕,๐๐๐-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
๒.นักเรียน ผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ ความเข้าใจภาวะโภชนาการอาหารในเด็กมากขึ้น
๓.ผู้ปกครอง ครู/ผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถนำความรู้เรื่องการทำอาหารไปปรับใช้ในการปรุงอาหารให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้
๔.ผู้ปกครองและครู/ผู้ดูแลเด็กสามารถผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้


>