กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวีในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลหนองแก

นายสมัยเกาะษา
นางสุพวัฒจันทร์โท
นายบุญล้อมนนทรี
นางเหรียญทองน่านโพธิ์ศรี
นายบุญเลี้ยงคำมูล

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนตำบลหนองแกที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย

 

100.00

การออกกำลังกายเป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ปัจจุบันประชาชนนิยมออกกำลังกายมากขึ้นโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ มีทั้งแบบร่วมกลุ่มและใช่อุปกรณ์ หรือออกกำลังกายในรูปแบบของการกีฬา การออกกำลังกายสามารถทำได้ทุกวัย แต่การออกกำลังกายในแต่ละวัยจะต้องมีความเหมาะสมกับวัยและขีดความสามารถของตนเอง ทำให้ปัญหาด้านสุขภาพยังพบมากขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแม่บ้าน จากการคัดกรองด้านสุขภาพ พบว่าประชาชนยังมีค่าดัชนีมวลกายและรอบเอวเกินอยู่จำนวนมากปัจจุบันการออกกำลังกายที่กำลังนิยม คือ การเต้นแอโรบิค โยคะ และ ประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย เพราะคิดว่าการทำกิจวัตรประจำวันที่บ้าน เช่น การทำความสะอาดบ้าน รถน้ำผัก เลี้ยงสัตว์ เป็นการออกกำลังการ แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกายคือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ม หรือคงไว้ซึ้งความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและปอด โดยมีกระบวนการใช้ออกชิเจน ในขบวนการเผาผลาญ สำหรับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องโดยมีระยะเวลายาวนานต่อเนื่องอย่างน้อย ๓๐ นาที สัปดาห์ละ ๓ ครั้งเป็นอย่างน้อย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแกจึงได้เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ เพิ่มทักษะด้านออกกำลังกาย และเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้กับชุมชนช่วยให้ประชาชนได้ตระหนักและรู้จักการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นของประชาชนเพื่อประชาชนมีพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ โดยจัดในรูปแบบของการประกวดแข่งขันการเต้นแอโรบิค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อสร้างเสริมสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจแก่ประชาชน ๒.เพื่อพัฒนาชมรมออกกำลังกาย ๓.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน หรือเยาวชน ห่างไกลจากยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๔. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชนให้ต่อเนื่อง
  1. ประชาชนมีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
  2. ประชาชนสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆมีสุขภาพแข็งแรง
100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวีในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพขยับกายสบายชีวีในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2 .ทำหนังสือถึงผู้นำชุมชน เพื่อรวบรวมรายชื่อแกนนำและจัดเตรียมสถานที่ 3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนให้ออกกำลังกาย ในวัน จันทร์ พุธ ศุกร์
4 . ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความอนุเคราะห์สถานที่และเครื่องเสียง 5.  กิจกรรมออกกำลังกายแบบแอโรบิคทุกหมู่บ้านโดยมีผู้นำออกกำลังกายที่ผ่านการอบรม อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 6. ประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
  2. ประชาชนสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆมีสุขภาพแข็งแรง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น
2. ประชาชนสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆมีสุขภาพแข็งแรง


>