กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กนักเรียนไทยสูงดีสมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1,2,9,10

1.นางพรพิมลปักษี
2.นางรุ่งนภา พ้องพาล
3.นางจำเลย พรมนรินทร์
4.นางรินนภา แพรพันธุ์
5.นางศุกร์ศึกษา

รพ.สต.บ้านแก่ง ตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนไทย ได้เปลี่ยนไปจากอดีต มีการพัฒนาขึ้นในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สารสนเทศ ที่ส่งผลต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงการทำกิจวัตรประจำวัน และการรับประทานอาหารที่เร่งด่วนตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดแล้วล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาวโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ในสังคมที่แข่งขัน ทำให้วิถีชีวิตต้องใช้บริการอาหารจานด่วน อาหารฟาสฟูดส์ ที่หาซื้อได้ง่าย รวดเร็ว และสะดวกต่อการบริโภค โดยพฤติกรรมดังกล่าวล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งปัญหาโรคเรื้อรังนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กมวัยเรียน และสำหรับสถานการณ์โรคอ้วนในประเทศไทยนั้น ก็มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต จากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่า 1 ใน 3 อยู่ในภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา(ปี 2534-2552) และหากเปรียบเทียบในระดับภูมิภาคพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียเท่านั้น และสำหรับข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านแก่งนั้น พบว่ามีเด็กที่มีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ อ้วน เตี้ย ผอม อยู่ทั้งหมด 20.54 % จึงทำให้เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเกิดปัญหาภาวะโภชนาการขาดและโภชนาการเกิน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไขมันในเลือดสูง
จากสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1,2,9,10 ตำบลบ้านแก่ง ได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโภชนาการขาดและเกินในเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการเด็กนักเรียนไทย สูงดีสมส่วน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการขาดและโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน และให้เด็กมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ทั้งทางด้านการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กลวิธีดำเนินงาน ๑.จัดทำโครงการและประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข และคณะครู ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการ ๓.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ - อาหารหลัก 5 หมู่,

ชื่อกิจกรรม
กลวิธีดำเนินงาน ๑.จัดทำโครงการและประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข และคณะครู ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการ ๓.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.ดำเนินกิจกรรมโครงการ 4.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ - อาหารหลัก 5 หมู่,
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ     ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง
ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. ค่าป้ายโครงการ 1X3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท 2. ค่าวิทยากรจำนวน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน และเครื่องดื่ม  มื้อละ 50 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท 4. ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 2 มื้อ  มื้อละ 25 บาท จำนวน 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ค่าสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัว จำนวน 30 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท     รวมเป็นเงินทั้งหมด 10,950 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ มีความรู้ และทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้น
    1. เกิดกระบวนการกลุ่มโดยยึดกลุ่มเสี่ยงเป็นศูนย์กลาง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยั่งยืน
    2. ได้กลุ่มเสี่ยงต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดเทคนิคการปรับพฤติกรรมให้บุคคลอื่นได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>