กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายสะสมสร้างสุขภาพห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแก่ง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1,2,9,10 ตำบลบ้านแก่ง

1.นางพรพิมนต์ปักษี
2.นางรุ่งนภา พ้องพาล
3.นางจำเลย พรมนรินทร์
4.นางรินนภาแพรพันธ์
5.นางศุกร์ศึกษา

ศาลาวัดบ้านแก่ง ตำบลบ้านแก่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงภาวะอ้วนลงพุง รอบเอวเกิน ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ที่กำหนด

 

62.02

ความสำคัญและที่มาของโครงการ
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคภัย
ไข้เจ็บ ช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นอนหลับสบาย มีสุขภาพดีขึ้น แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมมีมากขึ้น มนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต การใช้กล้ามเนื้อและพลังกายลดลง ทำให้สมรรถภาพร่างกายและคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่ลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานการค้นคว้าทางการแพทย์ยืนยันว่า บุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติดต่างๆ มีส่วน บันทอนสุขภาพร่างกาย ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาเพียงวันละ 30 นาที และงดสิ่งเสพติดทั้งหลาย จะช่วยทำให้สมรรถภาพร่างกาย สมบูรณ์ แข็งแรง อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน แลไขมันในเลือดสูง จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขปี2564 เรื่องของสุขภาพวิถีใหม่ ประกอบกับนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ให้ความสำคัญเรื่อง smart life project ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายทุกวันพุธ และจากการสำรวจพบว่าประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน1,501 คน มีภาวะอ้วนลงพุง รอบเอวเกิน ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 931 คนคิดเป็นร้อยละ 62.02 ถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่1,2,9,10 ตำบลบ้านแก่ง ได้จัดทำโครงการออกกำลังกายสะสมสร้างสุขภาพห่างไกลโรค ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการเกิน และภาวะสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น ๒. เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย และการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ๓. เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีเวที จัดทำกิจกรรมร่วมกัน ๔. เพื่อขยายพื้นที่ ขยายกลุ่มเป้าหมาย สร้างกระบวนการออกกำลังกายอย่างยั่งยืน
  1. เกิดกลุ่ม/แกนนำ/ชมรมออกกำลังกาย โดยเฉพาะกลุ่ม/ชมรมเต้นแอโรบิค ในหมู่บ้าน  4 หมู่บ้าน
  2. มีการขยายผลและเกิดการตื่นตัวของคนในชุมชนออกกำลังกายมากขึ้น ร้อยละ 50 ของคนในหมู่บ้าน
50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กลวิธีดำเนินงาน 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงาน (อสม./ผู้นำชุมชน) เพื่อวางแผนการทำงาน 1.2 จัดฝึกอบรมแกนนำออกกำลังกายแต่ละหมู่บ้าน (อสม.) อย่างน้อยหมู่ละ 3 คน 1.3 จัดเตรียมสถานที่ /วัสดุ/อุปกรณ์ ประกอบการออกกำลังกาย 1.4 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาช

ชื่อกิจกรรม
กลวิธีดำเนินงาน 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมคณะทำงาน (อสม./ผู้นำชุมชน) เพื่อวางแผนการทำงาน 1.2 จัดฝึกอบรมแกนนำออกกำลังกายแต่ละหมู่บ้าน (อสม.) อย่างน้อยหมู่ละ 3 คน 1.3 จัดเตรียมสถานที่ /วัสดุ/อุปกรณ์ ประกอบการออกกำลังกาย 1.4 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ -  ค่าป้ายโครงการขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท -  ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 200 คนเป็นเงิน 10,000 บาท -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 200 คนเป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 -  ค่าวัสดุในการออกกำลังกาย จำบนวน 4,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  26,250 บาท (สองหมื่นหกพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. เกิดกลุ่ม/แกนนำ/ชมรมออกกำลังกาย ในหมู่บ้าน
๒. เกิดกลุ่ม/ชมรมออกกำลังกายต้นแบบที่สามารถแสดงโชว์ตามงานต่างๆ ได้ ๓. มีการขยายผลและเกิดการตื่นตัวของคนในชุมชนออกกำลังกายมากขึ้น ร้อยละ 60 ของคนในหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>