กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก

นายเกียรติศักดิ์นามวิเศษ
นางจีรนันท์ นามวิเศษ
นางสาวสุภาพร ทุมชะ
นางสาวกฤษณาสำรวมใจ
นางสาวทองเพชรบรรเทาพิษ

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ

 

100.00

โรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และเบาหวานซึ่งจากสถิติกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2557 - 2561 อัตราป่วย-ตายของประชาชนจากโรคในกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ทั่วโลกให้ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก และเมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูล อัตราป่วย-ตาย มาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย พบว่าข้อมูลมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันคือ มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เป็นสาเหตุการป่วย-ตาย ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน มีความชุกเพิ่มสูงขึ้น โดยเพศก็มีความแตกต่างกัน เช่น เพศชายมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน การรับประทานผักและผลไม้น้อย ไขมันในเลือดสูง และไม่ออกกำลังกาย ในขณะที่เพศหญิงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานผักและผลไม้น้อย ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคในกลุ่มนี้ด้วยแต่ปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคก็คือ การที่ประชาชนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ยอมแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องซึ่งปัญหาสุขภาพของประชาชนไทยในปัจจุบันนั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันความเร่งรีบ การแข่งขันในชีวิตประจำวัน ทำให้คนลืมนึกถึงและไม่ใส่ใจกับเรื่องสุขภาพ ทั้งด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย หรือการปรับเปลี่ยนสภาวะอารมณ์ ความตึงเครียดที่เหมาะสมสิ่งเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านพันธุกรรมนั้นแทบจะไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเลย แต่กลับพบว่า สาเหตุการเจ็บป่วยนั้นเกิดจากพฤติกรรมล้วนๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ปัจจุบันยังพบว่า ไม่เฉพาะกลุ่มประชาชนที่สูงอายุเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยงในคนไทยนั้น พบได้ในช่วงอายุที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีภาวะอ้วน รวมทั้งยังพบโรคเบาหวานในเด็กนั้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้นทุกปีจึงหมายความว่าประชากรทุกกลุ่มนั้น เป็นเป้าหมายในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังตลอดปี
ข้อมูล ปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก ที่ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก พบว่า กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีการรับรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์ การลด ละ เลิก บุหรี่และแอลกอฮอล์ เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 94 มีดัชนีมวลกายลดลงร้อยละ 14มีความพึงพอใจในกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 100และกลุ่มเสี่ยงในปีที่ผ่านมานั้นป่วยเป็นโรคเบาหวานลดลงร้อยละ 66.60และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 71.43ซึ่งทำให้เห็นว่า หากกลุ่มเสี่ยงได้มีกิจกรรมหรือการติดตามที่ต่อเนื่องแล้ว การควบคุมป้องกันมิให้ป่วยเป็นโรคทางเมตาบอลิกนี้ย่อมส่งผลดีต่อการมีสุขภาพที่ดีได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดที่คุกคามชีวิตและสุขภาวะของประชาชนในชุมชน รวมทั้งเป็นการดำเนินกิจกรรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก ปี 2564 ขึ้น โดยจะดำเนินการพัฒนาสมรรถนะผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ร่วมกับการใช้สมุดคู่มือสุภาพประจำตัว และ
ใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างสุขภาพ ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพพร้อมทั้งสามารถประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตนเอง และเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อจัดการลดความเสี่ยงให้ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถดูแลตัวเองได้ 2. เพื่อสร้างเครือข่ายหรือแกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชุมชน

1.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกายลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 2.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 3.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ระดับมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมสมรรถนะในการจัดการตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/อสม.เพื่อชี้แจงรูปแบบการทำงาน
  2. เตรียมอุปกรณ์การตรวจคัดกรอง   ได้แก่   เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง  สายวัดรอบเอว  แบบฟอร์มการตรวจคัดกรอง  และคู่มือสมุดประจำตัวผู้มีภาวะเสี่ยง 3.   จัดประชุมให้ความรู้และตรวจคัดกรองสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป (ครั้งที่ 1)
          โดย  วิเคราะห์ภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงที่ออกตรวจ รายบุคคล พร้อมคืนข้อมูล              จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเสี่ยง ตามแนวทาง 3 อ. 2 ส.
                 ผ่านเวทีการประชุมแลกเปลี่ยน ทั้งแบบกลุ่มใหญ่ หรือกลุ่มย่อย 4.   ติดตามประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยง  จำนวน  2  ครั้ง  ห่างกันทุก 1  เดือน       โดยใช้การวิเคราะห์สุขภาพรายบุคคล  ร่วมกับการประเมินผลความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ       และการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเลือกวิธีการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับตนเอง 5.    สรุปและประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกายลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 2.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 3.  กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ระดับมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25380.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกันโรคเมตาบอลิก สามารถ
ใช้สมุดคู่มือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเกิดเครือข่ายการดูแลสุขภาพโรคทางเมตบอลิกขึ้นในชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองในการดูแลสุขภาพได้ต่อไป


>