กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการส่งเสริมและประเมินติดตามพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก

นายเกียรติศักดิ์นามวิเศษ
นางจีรนันท์ นามวิเศษ
นางสาวสุภาพร ทุมชะ
นางสาวกฤษณาสำรวมใจ
นางสาวทองเพชรบรรเทาพิษ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

90.00

ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี เป็น "โอกาสทอง" ที่เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ สูงที่สุด เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่างๆ เต็มตามศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยครูผู้ดูแลเด็กจึงมีบทบาทสำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพ่อแม่/ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กเล็กที่พ่อแม่ ผู้ปกครองนำมาฝากไว้มีพัฒนาการสมวัย อย่างไรก็ตามการเลี้ยงดูและการเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน เช่น ขาดสารอาหาร สุขภาพไม่สมบูรณ์ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดสิ่งกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ขาดการกระตุ้นการตอบสนอง และอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เด็กเล็กจำนวนหนึ่งมีพัฒนาการต่ำกว่าระดับศักยภาพปกติการประเมินติดตามพัฒนาการเป็นประจำ จะทำให้พบเด็กเล็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าข้าเร็วขึ้นเพิ่มโอกาสในการพัฒนากระตุ้นแก้ไข ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลหนองแก มีเด็กเล็กที่อยู่ในความดูแล จำนวน150คนปีงบประมาณ 2564
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก จึงจัดทำโครงการการส่งเสริมและประเมินติดตามพัฒนาการเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อมาพัฒนาวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการที่จะส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของครอบครัวหรือสังคมต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพในเรื่องการเฝ้าระวังการเจริญเติบโต และการส่งเสริมพัฒนาการ 2. เพื่อให้เด็กที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ
  1. เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการรักษาหรือส่งต่อที่ทันท่วงทีร้อยละ100
150.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การส่งเสริม การประเมินพัฒนาการและโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริม การประเมินพัฒนาการและโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

6.1 การประเมินพัฒนาการและโภชนาการ         6.1.1 ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพัฒนาการ โดยการติดตามสังเกต ทดสอบ พฤติกรรม พัฒนาการตามวัย และส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละพฤติกรรม ครบทุกด้าน ตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย หากพบเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ทำการประเมินทันที ถึงแม้ไม่ใช่ช่วงอายุที่จะต้องตรวจประเมิน         6.1.2 ครูผู้ดูแลเด็กประเมินพัฒนาการเด็กทุกคนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่อายุ 30 และ 42 เดือน หรืออย่างน้อยเทอมละ 1 ครั้ง ด้วยอุปกรณ์ประเมินตามคู่มือ DSPM ครบทุกข้อตามช่วงอายุ และประเมินผลพัฒนาการเด็กในครั้งแรกที่ได้ประเมินพัฒนาการ 6.1.3 หากพบเด็กที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้าให้แจ้งเตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง และร่วมมือช่วยกัน กระตุ้นพัฒนาการ และตรวจประเมินซ้ำภายใน 1 เดือน หากยังล่าช้า ให้ส่งต่อไปยัง รพสต.หรือส่งตรงหน่วยบริการทุติยภูมิ ที่มีแพทย์ หรือกุมารแพทย์เพื่อประเมินและฟื้นฟู 6.2 การส่งเสริมพัฒนาการ 6.2.1จัดเวลาปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระทั้งในร่มและกลางแจ้ง (สนามเด็กเล่นสร้าง ปัญญา) โดยดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมฝึกวินัย อดทน รอคอย 6.2.2 อ่านหรือเล่านิทานให้เด็กฟังทุกวัน และให้เด็กนอนกลางวันตามความต้องการ ของร่างกาย และเหมาะสมตามวัย 6.3 จัดทำทะเบียนเด็กและลงข้อมูลพัฒนาการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง 6.5 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กได้รับการประเมินพัฒนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  2. เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการรักษาหรือส่งต่อที่ทันท่วงทีร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถประเมินเพื่อค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้เพิ่มขึ้น
2. เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัยทุกรายและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ


>