กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายนักวิทย์ชุมชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหนองแก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหนองแก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลหนองแก

นายสมัยเกาะษา
นางสุพวัฒจันทร์โท
นายบุญล้อมนนทรี
นางเหรียญทองน่านโพธิ์ศรี
นายบุญเลี้ยงคำมูล

ตำบลหนองแก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนสมาชิกเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารในการบริโภค

 

55.00

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือคุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้นจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายนักวิทย์ชุมชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่สะอาดและเล็งเห็นที่จะต้องมีนโยบายต่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เป็นการป้องกันการเอารัดเอาเปรียบและแสวงหากำไรจากผู้บริโภคอยู่มากจึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายนักวิทย์ชุมชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหนองแก ปี ๒๕๖4 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำและผู้ประกอบการร้านค้า ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ได้รับไปยังชุมชมได้ 2. เพื่อให้แกนนำนำความรู้ไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน 3. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารในการบริโภค 4. เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน
  1. แกนนำมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคและเลือกมาจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังครอบครัวและชุมชนได้
  2. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
55.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาเครือข่ายนักวิทย์ชุมชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหนองแก

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาเครือข่ายนักวิทย์ชุมชนแกนนำคุ้มครองผู้บริโภคตำบลหนองแก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำรายละเอียดโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดทำเอกสารประกอบการประชุมและแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการประชุม
  5. ดำเนินการประชุมตามตารางการประชุมโดยกำหนดจัดประชุมชี้แจง
  6. ประเมินผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประเมินผลจากการแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม
  2. ประเมินจากผลการสุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารหลังการอบรมในชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9633.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,633.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคและเลือกมาจำหน่ายได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังครอบครัวและชุมชนได้
2. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน


>