กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนวัตกรรมในการรักษาโรคในกลุ่มวัยทำงาน ในปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เดื่อศรีคันไชย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคำหมูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนไม่มีการนำความรู้เรื่องสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

5.00

พืชสมุนไพรเป็นผลผลิตมาจากธรรมชาติที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์เพื่อ
การรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว
แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
มีการสังเคราะห์และผลิตยาจากสารเคมีในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร
ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา
ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น
โครงการสมุนไพรกับสารธารณสุขมูลฐาน
โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคในสถานบริการสารธารณสุขของรัฐมากขึ้น
และส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น
ยาสมุนไพรนั้นจึงมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นที่รู้จักและไม่รู้จัก
สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยของโรคต่างๆได้ดังนั้นกลุ่มเราจึงจัดทำเรื่องสมุนไพรใกล้ตัวขึ้นมานั้นเพื่อให้ได้ความรู
้ เกี่ยวกับสมุนไพรที่คุ้นตาเราว่ามีสรรพคุณอะไร จะได้นำไปใช้ได้เหมาะสมตรงตามโรคที่เป็น
และจากธรรมนูญสุขภาพตำบลเดื่อศรีคันไชย ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2558 หมวดที่ 7
การส่งเสริมการใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ข้อที่ 12 การส่งเสริม สนับสนุน
การใช้และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน
และการแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ควรอยู่บนพื้นฐานหลักการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำหมูน ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมการปลูกและการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน
จึงจัดทำโครงการแหล่งเรียนรู้การใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ หมอนประคบสมุนไพร ในปีงบประมาณ ๒๕๖4 ขึ้น
อีกทั้งยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพกาย คุณภาพจิต
และคุณภาพชีวิตทีดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อใช้ประคบบริเวณที่ปวดเมื่อยหลังการนวด 2. เพื่อใช้ประคบจุดที่ต้องการคลายเส้น
  1. เพื่อให้ประชาชนได้นำความรู้เรื่องสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย แผ่นประคบสมุนไพร
  3. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ความรู้ร้อยละ 80
  4. เพื่อลดอาการปวดบ่า ไหล่ ในวัยทำงาน
5.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 45
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องในการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องในการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำแผนงานโครงการ 2. ขออนุมัติโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน จัดซื้อวัสดุเพื่อเตรียมการอบรมให้ความรู้ 2. ประสานงานชี้แจงแก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ และเตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรม 3. อบรมให้ความรู้เรื่องในการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มประชาชนทั่วไป 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ไปอบรมให้ความรู้ในการแปรรูปสมุนไพรให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผล/สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 2. รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ.... จำนวน 10000 บาท รายละเอียด ดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้รับการอบรม 45 คน ๆ ละ 100 บาท ( อาหาร 1 มื้อๆละ 50 บาท อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท ) รวมเป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าสมุนไพร และผ้าดิบสีขาว รวมเป็นเงิน 4,600 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 ท่าน จำนวน 3 ชั่วโมงๆล่ะ 300 บาท รวมเป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ค่าใช้จ่ายสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ประชาชนได้นำความรู้เรื่องสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย แผ่นประคบสมุนไพร
  3. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ความรู้ร้อยละ 80
  4. เพื่อลดอาการปวดบ่า ไหล่ ในวัยทำงาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้ประชาชนได้นำความรู้เรื่องสมุนไพรไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2. ได้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย แผ่นประคบสมุนไพร
3. ผู้เข้ารับการอบรมผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ความรู้ร้อยละ 80
4. เพื่อลดอาการปวดบ่า ไหล่ ในวัยทำงาน


>