กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเทศบาลเมืองหนองคาย เมืองน่าอยู่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ

โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ในประเทศไทยยาสูบและสุราเป็นเหตุของความสูญเสียทางสุขภาพจากการเจ็บป่วยและเสียชีวิต ส่งผลลบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบ ปี พ.ศ. 2556 ระบุว่า ประชากรไทย ร้อยละ 31.5 บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยผู้บริโภคในกลุ่มสตรี เด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงและการส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัดปี พ.ศ. 2554 พบว่า พื้นที่ที่มีความชุกของนักดื่มสูง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มจังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีพ.ศ. 2556 มีหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคมให้ความสนใจในการจัดการปัญหาสุราในระดับจังหวัดมากขึ้น โดยดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระดับจังหวัดระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งพบว่า การดำเนินโครงการเพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับจังหวัดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และองค์กรสนับสนุนทางวิชาการ การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามข้อมูลสถานการณ์การบริโภคและผลกระทบของจังหวัด พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 5.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 37.0 และพบกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ15-19 ปี สามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตามกฎหมาย ถึงร้อยละ 23.8 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาพรวมของประเทศ
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและควบคุมโรคติดต่อ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากการดื่มสุรา และภัยทางสุขภาพที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากบุรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบ จึงจัดทำโครงการเทศบาลเมืองหนองคาย เมืองน่าอยู่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

(๑) เพื่อให้ประชาชน ครู และแกนนำเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยของบุหรี่สุราเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่
(๒) เพื่อสร้างขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
(๓) เพื่อติดตามสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ สุรา และการบังคับใช้กฎหมาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประเภท (๑) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมบริการสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเภท (๑) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมบริการสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เครือข่ายครู/แกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษ พิษภัยของบุหรี่ สุรา รู้เท่าทันกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.ประชาสัมพันธ์เผยแพร่สื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์ควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(๑) ครู/แกนนำเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยของบุหรี่สุรา เพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่
(๒) สร้างขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
(๓) ไม่พบการสูบบุหรี่และการดื่มสุราในพื้นที่สาธารณะ


>