กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและรณรงค์ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนในโรงเรียนและชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองหนองคาย

งานส่งเสริมสุขภาพ สำนักการสาธารณสุขฯ เทศบาลเมืองหนองคาย

นางโสภาพรรณ ขวัญทะเล และคณะ

โรงเรียนระดับประถมศึกษาและชุมชนเขตเทศบาลเมืองหนองคาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนและประชาชนเรื่องภาวะขาดสารไอโอดีน

ร้อยละ ๙๐ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๕  ได้รับความรู้เรื่องภาวะขาดสารไอโอดีน

0.00
2 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนในโรงเรียนและชุมชน

ร้อยละ ๑๐๐ ของศูนย์พัฒนาเด็กแล็ก ,โรงเรียนระดับอนุบาล ,โรงเรียนระดับประถมศึกษาได้รับเกลือเสริมไอโอดีน

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังภาวะขาดสารไอโอดีนในสถานศึกษาและชุมชน

ร้อยละ ๓๐ ของครัวเรือนเขต เทศบาลฯ ได้รับการตรวจไอโอดีนในเกลือบริโภค

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 750
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมบริการอนามัยโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมบริการอนามัยโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ปฎิบัติงานรณรงค์ให้ความรู้เรื่องไอโอดีน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 12 แห่ง ในชุมชนอย่างน้อย 1  แห่งตามแผนปฏิบัติงานในสัปดาห์วันไอโอดีน และรณรงค์เนื่องในวันไอโอดีนแห่งชาติ ร่วมกับอสม.และภาคีเครือข่ายในเดือนมิถุนายน 2. ดำเนินการจัดซื้อเกลือเสริมไอโอดีน เพื่อสนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จำนวน  16  แห่ง
3. ตรวจภาวะคอพอกและให้สุขศึกษาในเด็กนักเรียนในกิจกรรมบริการอนามัยโรงเรียน 4. ให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีนผ่านสื่อต่างๆแก่นักเรียนและประชาชน  เช่น  แผ่นพับความรู้ บอร์ดนิทรรศการ เสียงตามสาย  ฯลฯ
5. การตรวจคุณภาพเกลือบริโภคในโรงเรียน โดยโรงเรียนในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ  ตรวจคุณภาพเกลือโดย อย.น้อย / ตรวจคุณภาพเกลือบริโภคในชุมชน(ตลาดสด ร้านอาหาร แผงลอย) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) 6. ประเมินผลโครงการด้วยผลการวัดระดับความรู้ของนักเรียนและค้นหากลุ่มเสี่ยงสม่ำเสมอ 7.เฝ้าระวังการผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสริมไอโอดีนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

กิจกรรมให้ความรู้ในสถานศึกษาและชุมชน 1. ค่ากระเช้าผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนเพื่อการเรียนรู้ 4 ชุด x 600 บาท      เป็นเงิน   2,400 บาท 2. ค่าชุดทดสอบไอโอดีนอย่างง่าย(I-Kit) 10 ชุด x 130 บาท          เป็นเงิน  1,300  บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 แห่ง รวม 750 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 18,750 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน รวม 100 คนๆละ 25 บาท  เป็นเงิน  2,500 บาท 5.ค่าจัดจ้างทำอาหารสาธิต จากผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน          เป็นเงิน  2,000 บาท 6. ค่าวัสดุสำนักงาน                        เป็นเงิน  1,000  บาท 7. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 x 2 เมตร จำนวน 3 ชิ้น            เป็นเงิน  1,800  บาท

กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการใช้เกลือเสริมไอโอดีน
1.จัดซื้อเกลือเสริมไอโอดีน สนับสนุนโรงอาหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  โรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษา  เป็นเงิน  4,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๕ได้รับความรู้เรื่องภาวะขาดสารไอโอดีน
2.ศูนย์พัฒนาเด็กแล็ก ,โรงเรียนระดับอนุบาล ,โรงเรียนระดับประถมศึกษาได้รับเกลือเสริมไอโอดีน 3.ครัวเรือนเขต เทศบาลฯ ได้รับการตรวจไอโอดีนในเกลือบริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กวัยเรียนมีความรู้เรื่องภาวะขาดสารไอโอดีน สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน และทดสอบไอโอดีนในเกลือได้
2.นักเรียนได้รับไอโอดีน จากการบริโภคอาหารกลางวันที่โรงเรียน
3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนระดับอนุบาลประถมศึกษา มีการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพทุกแห่ง
4.ประชาชนมีความรู้และเลือกใช้เกลือไอโอดีน ในการปรุงอาหาร


>