กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อคนไทยไร้พุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันความทันสมัยของเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอัตราอุบัติการณ์การเกิดโรคเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายของกระทรวงสาธารณสุข พบอัตราความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 22 (ประมาณ 10.1 ล้านคน)อัตราความชุกของโรคเบาหวาน ร้อยละ 6.9 (ประมาณ 3.2 ล้านคน)และพบว่ากลุ่มประชากร อายุ 45 - 59 ปี เป็นกลุ่มที่เริ่มพบภาวการณ์เกิดโรค ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อสูงกว่ากลุ่มอื่นๆจากหลักฐานทางวิชาการ พบว่า การลดน้ำหนัก ร้อยละ 5 - 10 ของน้ำหนักตัว ก็จะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากภาวะอ้วนได้ และถ้าสามารถลดขนาดของรอบเอวได้ทุกๆ5 เซนติเมตร จะสามารถลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานได้ 3 - 5 เท่า
จากผลการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง รวมทั้งชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง วัดรอบเอว และตรวจสุขภาพเบื้องต้นอื่นๆ ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า ตำบลนาปะขออำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง พบว่า ร้อยละของประชากรที่ไดรับการตรวจคัดกรองที่มีค่าดัชนีมวลกาย ( BMI =25 กก/ม2 และหรือภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอวเกิน ชาย 90 ซม. หญิง 80 ซม.) ร้อยละ 66.06 % ของประชากรที่ได้รับการคัดกรอง
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาปะขออำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงจึงเห็นควรจัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คนไทยไร้พุง ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มที่เป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีกทั้งยังสามารถเข้าถึงหน่วยบริการได้สะดวกและเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทางที่เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมใน เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสมและ ค่าดัชนีมวลกายลดลง หรือ อยู่ในเกณฑ์ ปกติ

ผู้เข้าร่วมอบรมที่เข้าร่วมโครงการ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมใน เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม และ ค่าดัชนีมวลกายลดลง หรือ อยู่ในเกณฑ์ ปกติร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อป้องกันให้ผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และวัดระดับไขมันในช่องท้อง

ผู้เข้าร่วมอบรม ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และวัดระดับไขมันในช่องท้อง ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัด ส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และวัดระดับไขมันในช่องท้องแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยการตรวจเชิงรุก ที่บ้านในเวลาเช้าตรู่โดย เจ้าหน้าที่หรืออสม.ในเขตรับผิดชอบ เนื่องจากต้องงดน้ำและอาหารก่อนเจาะน้ำตาล

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัด ส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และวัดระดับไขมันในช่องท้องแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยการตรวจเชิงรุก ที่บ้านในเวลาเช้าตรู่โดย เจ้าหน้าที่หรืออสม.ในเขตรับผิดชอบ เนื่องจากต้องงดน้ำและอาหารก่อนเจาะน้ำตาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมอบรมฯเนื่องจากทาง รพ.สต.มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล เครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย จำนวน 1 เครื่อง  ราคา 5,200 บาท
  • เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ราคา 2,200 บาท
  • แถบตรวจวัดน้ำตาลในเลือด 100 ชิ้น/กล่อง จำนวน 1 กล่อง
    ราคา 1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและวัดระดับ ไขมันในช่องท้อง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำ อสม.รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า จำนวน 60 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อคนไทยไร้พุง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำ อสม.รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า จำนวน 60 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อคนไทยไร้พุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรในการอบรมฯ จำนวน
6 ชั่วโมงๆละ600บาท จำนวน1 คน = 3,600บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม  วิทยากร และเจ้าหน้าที่จำนวน 65  คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท  = 3,900 บาท -ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม  วิทยากร และเจ้าหน้าที่จำนวน 65  คนๆละ 2  มื้อๆละ 25 บาท  = 3,250บาท -ค่าแผ่นป้ายโฟมบอร์ด แผนผังและความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพ ขนาด 6090 เซนติเมตร  จำนวน 4 แผ่นๆละ 480 บาท= 1,920บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการฝึกอบรม ขนาด 1.22.4 เมตร 1 แผ่นๆละ 576 บาท=  576 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันในเลือด อาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับ อารมณ์ที่เหมาะสมร้อยละ 80 2. ผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13246.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,046.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ในเรื่องการดูแลตนเองเพื่อควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันในเลือด อาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับ
อารมณ์ที่เหมาะสมร้อยละ 80
2. ผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงไม่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและกลุ่มป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 80
2. ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประมวลค่าBMI ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและวัดระดับ
ไขมันในช่องท้อง ร้อยละ 80


>