กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสะแบง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาสะแบง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้วามสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติ ในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรค โดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรค จากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก มีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบ หรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป จำนวนผู้ป่วยวัณโรคในตำบลนาสะแบง สะสมถึงปี 25๖3 ทั้งหมด ๓๒ ราย อัตราการป่วย ๕๑๘.๔๗ ต่อประชากรแสนคนเพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชน และร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะแบง จึงได้ดำเนินการโครงการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน และดำเนินงาน DOTS อย่างเข้มข้นในระดับชุมชน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นาสะแบง

มีการค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.นาสะแบง ได้เพิ่มขึ้น

32.00 50.00
2 เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง

แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง ร้อยละ 90

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพประจำหมู่บ้าน 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองให้กับแกนนำสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศรีวิไล

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองให้กับแกนนำสุขภาพ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศรีวิไล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองให้กับแกนนำสุขภาพ จำนวน 100 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2564 ถึง 4 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น         2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น         3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง


>