กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โป่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โป่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี ปี พ.ศ.2560-2561 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.84 , 5.29 , 5.60 และ 4.92 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-6 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา
จากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็ก (0-6 ปี) ในพื้นที่รับผิดชอบของตำบลโป่ง งวดที่ 1 (ตุลาคม 62 – ธันวาคม 62)พบว่าเด็กก่อนวัยเรียน มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 10 มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งเด็กในวัยดังกล่าวกำลังมีการเจริญ เติบโตของสมอง สารอาหารโปรตีนมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสมองหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศชาติในอนาคต สาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ด้านโภชนศึกษาของผู้ปกครอง เป็นผลให้เด็ก0-6 ปี ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ในการดำเนินการที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามเยี่ยมผู้ปกครอง แต่การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเรื่องที่ยังมีความจำเป็น
เพื่อเป็นการลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี ในเขตรับผิดชอบ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกกจำปา จึงจัดทำโครงการส่งเสริมเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กตำบลโป่งขึ้น เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 71
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจากเงินกองทุนประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลโป่ง จำนวน 26,230 บาท(สองหมื่นหกพันสองร้อยสามสิบบาทถ้วน)เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม 71 คนๆละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อเป็น เงิน 5,680 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 71 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 3,550 บาท -ค่าวิทยากร 1,800 บาท 1. วิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมง = 1,800 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1,500 บาท -ค่าอาหารเสริมนมเด็กที่ผอม จำนวน 44 คน x  กล่อง x 10บาท x 30วัน  เป็นเงิน 13,200  บาท -ป้ายโครงการ 1x3 เมตร จำนวน 1 ป้าย   เป็นเงิน      500   บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,230.-  บาท (สองหมื่นหกพันสองร้อยสามสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายแทนกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็ก 0 – 6 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม 2.ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี ลดลง 3.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>