กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กไทยฟันดี ตำบลตะปอเยาะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ

-

หมู่ที่ 1-5 ตำบลตะปอเยาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2562โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 1.4ซี่ต่อคนมีภาวะเหงือกอักเสบ 66.3%มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กมีปัญหาการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันทั้งภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชนสอดคล้องกับสำนักทันตสาธารณสุขได้สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของโรงเรียนในรูปของ “เครือข่าย” ภายใต้ชื่อ “ตะปอเยาะฟันดี ตามวิถีมุสลิม ” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเครือข่ายและขยายผลแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระบบพี่เลี้ยงในการทำงานโดยใช้ประเด็นทันตสุขภาพเป็นประเด็นนำมุ่งหวังให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างยั่งยืนส่งผลให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป
เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้ง ทันตบุคลากร ผู้ปกครองอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เครือข่ายสถานศึกษาตะปอเยาะซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านบลูกาสนอโรงเรียนบ้านกูยิ โรงเรียนบ้านตะโละมีญอและโรงเรียนบ้านบูเกะบากงร่วมกันในการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่ายภายใต้ชื่อ “เครือข่ายตำบลตะปอเยาะฟันดี ตามวิถีมุสลิม” จึงร่วมกับตำบลตะปอเยาะและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยมีกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ๘o พรรษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะปอเยาะ จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน

0.00
2 2 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

ร้อยละ 100ของโรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน

0.00
3 3 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน

ร้อยละ 100ของโรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน

0.00
4 4 เพื่อให้ครูอนามัยและแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 80 ของครูอนามัยและแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพระดับมีคะแนนของแบบทดสอบหลังให้ความรู้เพิ่มขึ้น

0.00
5 6 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง

ร้อยละ 100ของโรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง

0.00
6 7 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมการประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน

0.00
7 8 เพื่อให้โรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 700
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเพื่อวางแผนและติดตามการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่าย จำนวน ๔ โรงเรียน ๘ วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมเพื่อวางแผนและติดตามการดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนในรูปแบบของเครือข่าย จำนวน ๔ โรงเรียน ๘ วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการประชุมแก่คณะทำงานจำนวน20 คนๆละ50 บาทจำนวน 8 วันเป็นเงิน 8,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมแก่คณะทำงานจำนวน20 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 8 วัน เป็นเงิน 8,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมเเปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  • โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอทฃม ไอศครีมเเละมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการเเละจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน
  • โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 2 - อบรมแกนนำนักเรียนและครูด้านทันตสาธารณสุข โรงเรียนในเครือข่าย เด็กไทยฟันดี ตามวิถีมุสลิม โรงเรียนละ 12 คน

ชื่อกิจกรรม
- อบรมแกนนำนักเรียนและครูด้านทันตสาธารณสุข โรงเรียนในเครือข่าย เด็กไทยฟันดี ตามวิถีมุสลิม โรงเรียนละ 12 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการจัดอบรมแกนนำนักเรียนและครูด้านทันตสาธารณสุข จำนวน 48คนๆละ 1 มื้อๆละ  50 บาท เป็นเงิน 2,400.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมแกจำนวน 48คนๆละ 2 มื้อๆละ  25 บาท  เป็นเงิน 2,400.-บาท
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด1.5*2.5 ม.จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 700 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม  เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครูอนามัยและแกนนำนักเรียนมีความรู้เรื่องการเก็บข้อมูลทันตสุขภาพระดับมีคะแนนของแบบทดสอบหลังให้ความรู้เพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพให้แก่คณะทำงาน ตัวแทนนักเรียน คณะครูโรงเรียนในเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
จัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพให้แก่คณะทำงาน ตัวแทนนักเรียน คณะครูโรงเรียนในเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ ให้แก่คณะทำงาน ตัวแทนนักเรียน คณะครูโรงเรียนในเครือข่าย 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 50 คน เป็นจำนวน 200คนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 10,000บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ ให้แก่คณะทำงาน ตัวแทนนักเรียน คณะครูโรงเรียน ในเครือข่าย 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 50 คน เป็นจำนวน 200คนๆละ 2มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 10,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมการประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันให้นักเรียนโรงเรียนในเครือข่ายทุกคน - เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา -เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล

ชื่อกิจกรรม
จัดอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันให้นักเรียนโรงเรียนในเครือข่ายทุกคน - เด็กนักเรียนระดับประถมศึกษา -เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันเด็กประถมศึกษาจำนวน 700 คนๆละ79 บาท เป็นเงิน 55,300 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันเด็กชั้นอนุบาล จำนวน 276 คนๆละ45 บาท เป็นเงิน 12,420 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย
  • โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67720.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมทันตสุขภาพในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลตะปอเยาะ โดยจัดทำโครงงาน/นวัตกรรมด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนเเละกิจกรรมจัดประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและจัดมุมทันตสุขศึกษา ภายในโรงเรียนในเ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมทันตสุขภาพในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีตำบลตะปอเยาะ โดยจัดทำโครงงาน/นวัตกรรมด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนเเละกิจกรรมจัดประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและจัดมุมทันตสุขศึกษา ภายในโรงเรียนในเ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.5*2.5 ม.จำนวน 4 ผืนๆละ 700บาท
    เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าจัดทำโครงงาน/นวัตกรรมด้านทันตสุขภาพ 4ชุดๆละ1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 2*3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการจัดประกวด เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • โรงเรียนในเครือข่ายเกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่าย
  • โรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมการประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 129,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เครือข่ายสุขภาพตำบลตะปอเยาะให้การสนับสนุนทางวิชาการและทรัพยากรต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมกระบวนการสร้างเครือข่าย เอื้ออำนวยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานร่วมกันภายในเครือข่ายเกิดการกำหนดนโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- โรงเรียนในเครือข่ายจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกชั้นเรียน
- โรงเรียนในเครือข่ายปลอดน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ไอศกรีม และเครื่องดื่มรสหวาน (น้ำตาลไม่เกิน 5%) และมีการจัดอาหารกลางวันที่ถูกหลักโภชนาการและจัดอาหารว่างที่เหมาะสมให้นักเรียน
- โรงเรียนในเครือข่ายมีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกชั้นเรียน
- โรงเรียนในเครือข่ายมีระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพทุกโรงเรียน ครอบคลุมทุกชั้นเรียน โดยมีครูหรือทันตบุคลากรเป็นผู้ตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลและสะท้อนข้อมูลแก่ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชน รวมทั้งมีการให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่นักเรียน และการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
- โรงเรียนในเครือข่ายมีการจัดทำโครงงาน/นวัตกรรม/งานวิจัยด้านทันตสุขภาพ อย่างน้อยโรงเรียนละ 1 เรื่อง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเครือข่ายและนอกเครือข่าย และจัดรณรงค์และประกวดวิชาการด้านทันตสุขภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน
- เกิดมุมทันตสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้มีความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก ภายในโรงเรียนในเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนบ้านบลูกาสนอโรงเรียนบ้านกูยิ โรงเรียนบ้านตะโละมีญอ และโรงเรียนบ้านบูเกะบากง
- เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อง่ายต่อการติดต่อประสานงาน การติดตามข่าวสารประชาสัมพันธ์


>