กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เสี่ยงได้ ลดได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง

ตำบลพ่อมิ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ

 

2.00

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ได้สัดส่วน และบริบทในพื้นที่ มีพฤติกรรมชอบรับประทานอาหารประเภทข้าว แป้ง หวาน มัน กะทิ เค็ม หมักดองผงชูรส รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย และปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่นอกจากนี้โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประเทศไทยในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง จึงได้จัดทำโครงการเสี่ยงได้ ลดได้ ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ร้อยละ 80 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

3.00 1.00
2 ๒. เพื่อให้อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 10

4.00 1.00
3 ๓. เพื่อให้อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 5

3.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 452
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ระยะก่อนดำเนินงานส

ชื่อกิจกรรม
ระยะก่อนดำเนินงานส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  สำรวจข้อมูลพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป -  จัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานกลุ่มเป้าหมายประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป - ลงพื้นที่ดำเนินการคัดกรองค่าน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูงและวัดรอบเอว -  จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และแกนนำ เพื่อดำเนินการจัดทำโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มโรคเรื้อรัง ชี้แจงโครงการให้กลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ระยะดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ระยะดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.ขั้นดำเนินการ - คืนข้อมูลสถานการณ์กลุ่มเสี่ยงตำบลพ่อมิ่งแก่กลุ่มเป้าหมาย - วิเคราะห์ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส. - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระหว่างสมาชิก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อร้อยละ 100 ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ระยะหลังดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ระยะหลังดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นติดตาม/ประเมิน -  ลงพื้นที่ดำเนินการตรวจติดตามค่าน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูงและวัดรอบเอว
    -  กลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองซ้ำที่มีค่าน้ำตาลในเลือด 100 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์และตรวจติดตามวัดความดันโลหิต 120/80 มิลิเมตรปรอท จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้อง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    -  กลุ่มประชากรจากการคัดกรองที่มีค่าน้ำตาลในเลือด 126 มิลิกรัมเปอร์เซ็นต์และวัดความดันโลหิต 140/90 มิลิเมตรปรอท จัดอยู่ในกลุ่มสงสัยป่วยต้องได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

4.ขั้นประเมินผล -  สรุปภาวะสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๓.  อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงน้อยกว่าร้อยละ 10 ๔.  อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. กลุ่มสงสัยป่วยจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อร้อยละ 100
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80
๓. อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงน้อยกว่าร้อยละ 10
๔. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานน้อยกว่าร้อยละ 5


>