กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลมะเร็ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพ่อมิ่ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง

นส.อาอีเซาะ สาและ

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งงเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สตรีอายุ 30-60 ปี ตระหนักการคัดกรองมะเร็งปากมดลูดและเต้านมได้

 

3.00

เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา มีการสรุปสถานการณ์โรคมะเร็งของประเทศไทยพบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ 1 ของคนไทย ต่อเนื่องนานกว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2554 พบว่า ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิต จากโรคมะเร็ง ปีละประมาณ 60,000 รายหรือเฉลี่ย 7 รายต่อชั่วโมง ซึ่งจากสถิติการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในประชากรไทย พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอับดับสองของมะเร็งในผู้หญิงรองจากมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกพบมากในผู้หญิงอายุ 30 – 50 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวกแต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ เขินอาย มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องท้าการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมใน ระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมากการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
จากสถิติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่ง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมะเร็งตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563
โดยอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี พบว่ายังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จากผลการดำเนินงานคือ ร้อยละ 9.3 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด ซึ่งต้องดำเนินการตรวจให้ได้ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายในทุกๆปี และอัตราการตรวจมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี พบว่าผ่านมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข จากผลการดำเนินงานคือ ร้อยละ 89.9 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพ่อมิ่งจึงเห็นความสำคัญของการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมโดยการตรวจคัดกรองค้นหามะเร็งปากมดลูกในสตรีเป้าหมายกลุ่มอายุ 30-60 ปีและคัดกรองเต้านมในสตรีอายุ 30-70 ปี จึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลมะเร็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

ร้อยละ 100 สตรีอายุ 30-60 ปี มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้

2.00 1.00
2 ๒. เพื่อให้ อสม.และแกนนำมีความรู้ในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้

ร้อยละ 100 อสม.และแกนนำมีความรู้ในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้

2.00 1.00
3 ๓. เพื่อให้สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละ 20 สตรีอายุ 30-60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

4.00 1.00
4 ๔. เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 สตรีอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

3.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  จัดทำทะเบียนรายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปีและสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-70 ปี - จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดเตรียมทะเบียนและเอกสารอื่นๆได้อย่างเรียนร้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ขั้นกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ - จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมแก่ อสม. แกนนำและกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี - สอนทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง - สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30-60 ปีดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear
- อสม. ให้ความรู้และสอนทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายมีอายุ 30- 70 ปี ขั้นติดตาม - แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear - ติดตามและส่งต่อ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจคัดกรอง พบมีความผิดปกติเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และได้รับการรักษาตามมาตรฐานและต่อเนื่อง - สรุปผลจากการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ๒.  กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19200.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นสรุป

ชื่อกิจกรรม
ขั้นสรุป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปโครงการและส่งเล่ม โครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเล่มโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20
๒. กลุ่มเป้าหมายสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80


>