กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

โรงเรียนวัดท่าข้าม

1. นางประสานทอง จันทมณี
2. นางอรุณีศรีสุวรรณ
3. นางนิภาวรรณจันทร์ภาพ
4. นายณัชพล ศิริพันธ์
5. นางสาวจิรัชญาฉันทอุไร

โรงเรียนวัดท่าข้าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙(COVID-๑๙)ตามที่ได้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทั้งในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ทำให้มีผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนี้อีกหลายเดือน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและชีวิตของประชาชน และระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในประเทศและหลายประเทศทั่วโลก จนรัฐบาลต้องออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว และทางโรงเรียนได้เลื่อนกำหนดการเปิดภาคเรียนออกไป จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ขณะนี้สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)มีแนวโน้มที่ดีขึ้นและลดอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลได้กำหนดวันเปิดภาคเรียน เป็นวันที่ ๑4 มิถุนายน ๒๕๖4 ทางโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในโรงเรียนวัดท่าข้าม เพื่อมิให้นักเรียนและบุคลากรติดเชื้อและป่วยด้วยโรคดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในโรงเรียน
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

ชื่อกิจกรรม
ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อขออนุมัติโครงการ
  2. จัดตั้งจุดคัดกรองอุณหภูมิร่างกายนักเรียนก่อนเข้าโรงเรียน
  3. ตรวจการใส่หน้ากากอนามัยก่อนเข้าโรงเรียน
  4. ทำความสะอาดห้องเรียนและห้องต่างๆทุกวัน
  5. ประเมินผลโครงการ

- เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟาเรด มีขาตั้ง จำนวน 2 ตัวๆละ ๒,๒๐๐ บาท เป็นเงิน  ๔,๔๐๐  บาท - หน้ากากอนามัย ๑๐0 กล่องๆละ 100 บาท เป็นเงิน  ๑๐,0๐๐  บาท - แอลกอฮอล์น้ำ ขนาด 3,800 มิลลิลิตร จำนวน 25 แกลลอนๆ 500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท - กระบอกฉีด 1 โหลๆละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท - น้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ ขนาด 2,500 มิลลิลิตร 10 แกลลอนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. โรงเรียนไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) 2 นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองและสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่มีการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในโรงเรียน


>