กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนท่าข้ามสดใส ลดภัยบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม

นางนภสร สุริวงศ์
นางพนิดา เสาร์เพ็ชร
นางเมธินี ชาติดำ
นางสาวหัสนิดา หมันหลี
นางนิษา บุญพันธ์

ตำบลท่าข้าม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ บุหรี่เมื่อเกิดการเผาไหม้จะมีสารเคมีที่เป็นพิษเกิดขึ้นหลายชนิด ซึ่งเมื่อสูดดมเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมายและทำให้เกิดโรคต่างๆ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพองโรคหัวใจ เป็นต้น ปัจจุบันทั่วโลกพบผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณปีละ 5 ล้านคน และอีกกว่า 6 แสนคน เสียชีวิตเพราะได้รับควันบุหรี่มือสอง มีข้อมูลจากกรมควบคุมโรคระบุว่า “การสูบบุหรี่ 1 มวน จะทำให้อายุสั้นลง 7 นาที และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีอายุขัยเฉลี่ยสั้นลงประมาณ 10-12 ปี
ข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ.2557 พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป บริโภคยาสูบ 11.36 ล้านคน อัตราการบริโภคยาสูบของเพศชายเท่ากับ 40.5% เพศหญิงเท่ากับ 2.2% อัตราการบริโภคยาสูบในกลุ่มอายุ 15-24 ปี,25-59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 14.67,23.54 และ 16.63 ตามลำดับ ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกหลังตื่นนอนภายใน 30 นาที เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการวินิจฉัยเพื่อประเมินภาวะการติดนิโคติน ( Nicotine dependence ) ให้ผู้สูบบุหรี่ได้ และยังสามารถบอกถึงระดับความรุนแรงในการติดบุหรี่อีกด้วย เพื่อประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการเลือกวิธีบำบัดรักษาเพื่อช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2557 พบว่า ผู้สูบบุหรี่มวนแรกภายใน 5 นาทีหลังตื่นนอน, 6-30 นาทีหลังตื่นนอน, 31-60 นาทีภายหลังตื่นนอน และมากกว่า 60 นาทีภายหลังตื่นนอน มีสัดส่วน 20.79%, 42.10%, 16.19% และ 20.92% ตามลำดับ
สถานการณ์การสูบบุหรี่ในเขตสุขภาพที่ 12 จากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่ได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่า มีอัตราของผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ที่ ร้อยละ 23.90 ซึ่งเป็นอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับประเทศที่ ร้อยละ 19.10 โดยพบว่าจังหวัดสตูล สงขลา พัทลุง และตรัง มีอัตราการสูบบุหรี่ที่ร้อยละ 26.90, 25.30, 24.30 และ 24.20 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในระดับเขตสุขภาพ
จากข้อมูลการคัดกรองบุหรี่ในปีงบประมาณ 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองบุหรี่ จำนวน 4,604 คน มีผู้สูบบุหรี่จำนวน 462 คน คิดเป็นร้อยละ 10.03 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการสูบบุหรี่ และความสำคัญของการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาเลิกสูบบุหรี่ โดยใช้ภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรไทยในการช่วยลดความอยากบุหรี่ จึงได้จัดทำโครงการคนท่าข้ามสดใส ลดภัยบุหรี่ เพื่อค้นหาผู้สูบบุหรี่และชักชวนเข้าร่วมคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 - 8ตำบลท่าข้าม ซึ่งเป็นพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม โดยมีการจัดอบรมประชาชนทั่วไปที่สมัครใจเข้าร่วม และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คน เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจรู้เท่าทันอันตรายจากบุหรี่ สามารถลด ละ เลิกบุหรี่ได้ รวมถึงการได้รับบริการแพทย์แผนไทยโดยใช้ชาชงหญ้าดอกขาวและยาอมสมุนไพรหญ้าดอกขาว เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบในการลด ละ เลิกบุหรี่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่สมัครใจเข้าร่วมคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่

ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน มีความรู้เรื่องอันตรายจากบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่
ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมมีความพึงพอใจในการใช้ชาชงหญ้าดอกขาว ยาอมสมุนไพรหญ้าดอกขาว และการกดจุดฝ่าเท้าเลิกบุหรี่
ข้อที่ 4 เพื่อให้ผู้สูบบุหรี่ที่สมัครใจเข้าร่วมสามารถ ลด ละ เลิกบุหรี่ได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ลด ละ เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมการคัดกรอง
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ 1.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากบุหรี่และวิธีการเลิกสูบบุหรี่ แก่ อสม.และผู้สนใจเข้าร่วม จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน 1.2 กิจกรรมย่อย อบรมการใช้เครื่องเป่าคาร์บอนมอนออกไซด์ในปอด จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 20 คน

  3. ดำเนินการรักษา 2.1ดำเนินการลด ละ เลิกบุหรี่โดยวิธีการนวดกดจุด ฝ่าเท้า และจ่ายชาชงหญ้าดอกขาว และยาอมสมุนไพรหญ้า ดอกขาว

  4. ติดตามผลการดำเนินงาน
  5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน -ค่าเอกสารการคัดกรองผู้สูบบุหรี่ จำนวน 400 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าวิทยากร 2 คน X 2ชม. X 600 บาท X 2 รุ่น เป็นเงิน4,800 บาท -เครื่องเป่าคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด20,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 40 คน X 25 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน 2,000บาท -ค่าอาหารกลางวัน 40 คน X 70 บาท เป็นเงิน 2,800บาท -ค่าแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้สมัครใจเลิกบุหรี่และอสม. 100 ชุด X 20 บาทเป็นเงิน 2,000บาท -ค่าสมุดบันทึกติดตามการสูบบุหรี่ด้วยตนเอง 40 เล่มX 30 บาทเป็นเงิน 1,200บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ450 บาท -ค่าป้ายไวนิลภัยจากบุหรี่และสมุนไพรเลิกบุหรี่พร้อมขาตั้ง2 ป้าย X 490เป็นเงิน980บาท
    -ชาชงหญ้าดอกขาว 100 ห่อ X 68 บาทเป็นเงิน 6,800 บาท -ยาอมสมุนไพรหญ้าดอกขาว 600 ห่อ X 10 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่าง 40 คน X 25 บาท เป็นเงิน 1,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ผู้สูบบุหรี่สมัครใจเข้าร่วมคลินิกลด ละ เลิกบุหรี่  ร้อยละ 50 2. ผู้สูบบุหรี่และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน มีความรู้เรื่องอันตรายจากบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่ร้อยละ 80 3. ผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมมีความพึงพอใจในการใช้ชาชงหญ้าดอกขาว ยาอมสมุนไพรหญ้าดอกขาว  และการกดจุดฝ่าเท้าเลิกบุหรี่ ร้อยละ 60
4. ผู้สูบบุหรี่ที่สมัครใจเข้าร่วมสามารถ ลด ละ เลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48430.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,430.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>