กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสตา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บันนังสตา

11 หมู่บ้านในตำบลบันนังสตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข จัดงานวันไอโอดีนแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่คนไทยจากผลการสำรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์และความครอบคลุมเกลือไอโอดีนที่มาตรฐานระดับครัวเรือน ถึงแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกยังอยู่ระดับที่ไม่น่าไว้วางใจจึงยังต้องเพิ่มยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานและต้องมีการทำอย่างต่อเนื่องให้ประชากรในพื้นที่ได้รับสารไอโอดีนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายโรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขทางด้านโภชนาการที่สำคัญ เป็นต้นเหตุที่พบมากที่สุดของภาวะ ปัญญาอ่อนซึ่งป้องกันได้ พบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีผลร้ายแรงชัดเจนในทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนอายุ 2-3 ปี โดยมี ผลลดความเฉลียวฉลาด หรือไอคิวของเด็กได้ถึง 10-15 จุด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยปกติร่างกายต้องการสารไอโอดีนทุกวัน วันละ 100-150 ไมโครกรัม ในส่วนของหญิงมีครรภ์หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้ทารกตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือแท้งหรือพิการตั้งแต่กำเนิดเด็กที่เกิดจากแม่ที่ขาดสารไอโอดีนมีโอกาสที่จะเป็นปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้กลายเป็นเด็กเอ๋อ ส่วนในเด็กวัยเรียนที่ขาดสารไอโอดีนจะส่งผลให้เรียนรู้ช้า เฉื่อยชา เป็นคอพอกเพราะสารไอโอดีนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาสมองทารกที่อยู่ในครรภ์ต้องการสารไอโอดีนจากมารดาในการเพิ่มและขนาดเซลล์สมองและช่วยสร้างโครงข่ายใยประสาทที่ต่อเชื่อมถึงกันสร้างปลอกหุ้มเซลล์ใยประสาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนในวัยผู้ใหญ่หากขาดสารไอโอดีนจะทำให้กลายเป็นคนเซื่องซึม เฉื่อยชาประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นกองสาธารณสุขฯอบต.บันนังสตาได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนที่ต่อเนื่อง และเฝ้าระวังติดตามอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน เพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิวซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชน องค์กรในระดับหมู่บ้านเกิดความเข้าใจ และร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งจะส่งผลให้โรคขาดสารไอโอดีนลดลง
กองสาธารณสุขฯองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลบันนังสตา มีความประสงค์จะจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในปีงบประมาณ 2562 เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ต้องการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนในหมู่คนไทยจากผลการสำรวจปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์และความครอบคลุมเกลือไอโอดีนที่มาตรฐานระดับครัวเรือน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชน องค์กรในระดับหมู่บ้านเกิดความเข้าใจ และร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพสร้างความเข้มแข็งในชุมชนพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นหมู่บ้านไอโอดีนทุกหมู่บ้าน

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-6ปี ให้มีพัฒนาการสมวัย

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนและอาหารเสริมไอโอดีนทุกหลังคาเรือน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 800บาท ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม
(25 x 2 มื้อ x 50 คน) เป็นเงิน2,500 บาท ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม
(50 x 1 มื้อ x 50 คน) เป็นเงิน2,500 บาท ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 วันๆ ละ 6 ชั่งโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2564 ถึง 14 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9400.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์สำหรับ อสม.

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์สำหรับ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเอกสารประชาสัมพันธ์ 220 ชุดๆละ 20 บาท              เป็นเงิน 4,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4400.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนเกลือไอโอดีน

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนเกลือไอโอดีน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้อเกลือเสริมไอโอดีน(11 หมู่บ้าน) จำนวน 4,093 หลังๆละ 3 ซองๆละ 3บาท เป็นเงิน 36,837บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36837.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,637.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>