กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนบ้านคลองช้างส่งเสริมสุขภาพ (อย.น้อย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

โรงเรียนบ้านคลองช้าง

-

โรงเรียนบ้านคลองช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว้างไกลขึ้นมาก ทำให้ชีวิตมีความสะดวกสบายขึ้นแต่ก็ทำให้เกิดการใช้สารเคมี และมีการทำลายสมดุลของระบบสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยามากขึ้น ส่งผลให้กระทบต่อการบริโภคและอาหารของประชาชนตามมา ภาครัฐและเอกชนจึงเริ่มให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังอาหารให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น จากรายงานการวิจัยด้านความปลอดภัยทางด้านอาหารสรุปเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยแบ่งอันตรายที่มีจากการปนเปื้อนอาหารเป็น แบ่งประเภทใหญ่ ๆ 3 ชนิด อันตรายทางกายภาพได้แก่ กระบวนการผลิตมีการควบคุมไม่ดีมีการปนเปื้อนของวัสดุในการผลิต ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งพบรายงานการตรวจเจออันตรายทางกายภาพน้อย ที่ตรวจพบได้แก่ แมลง มด ขนแมลง เป็นต้น ซึ่งไม่เกินเกณฑ์กำหนดของ US.FDA อันตรายทางเคมี ได้แก่ การใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอาหาร พบว่า ผักสดธรรมดาและผักสดปลอดสารเคมี พบสารเคมีที่เป็นสารจำกัดแมลง ไม่แตกต่างกัน โดยสารเคมีที่พบมากได้แก่ cypermethrin, endosulfan, methamidophosและ methomyl โดยถั่วฝักยาวพบสารตกค้างมากที่สุด รองลงมาคือผักคะน้า ผักกวางตุ้ง สำหรับผลไม้พบว่าส้มเขียวหวานตรวจพบสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างมากที่สุด และจากการวิเคราะห์อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทพบว่า มีการตรวจพบสารกำจัดแมลงและสารอื่นๆ ในเครื่องดื่มชาเขียว น้ำแครอท พบปริมาณการปนเปื้อนของสาร endosulfan ส่วนปริมาณโลหะทั้ง 4 ชนิด ปรอท ตะกั่ว แคดเมี่ยม สารหนู ส่วนใหญ่พบในหอยและกุ้ง โดยค่าที่คนไทยได้รับจากการบริโภคอาหารต่อวันในปริมาณที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคเช่นกัน นอกจากนี้พบปัญหาสารตกค้าง ออกซีเตตราชัยคลิน เตตราชัยคลิน และคลอเตตราชัยคลินในกุ้ง และตรวจพบสารฮีสตามีนในปลาทูน่า สารเบตาอะโกนิสต์ในเนื้อหมู รวมทั้ง สาร 3-MCPD ในซอสปรุงรส อันตรายทางชีวภาพได้แก่ พวกเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคต่าง ๆ โดยพบการปนเปื้อนของ Listeria spp. ในตัวอย่างไก่สดมากกว่าผลิตภัณฑ์จากไก่
จากรายงานดังกล่าวทางโรงเรียนจึงเล็งเห็นความสำคัญในการคัดสรรค์อาหารและวัตถุดิบต่างๆในการประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้นจึงมีการจัดทำโครงการอย.น้อยส่งเสริมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและผู้ปกครอง รู้จักบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและรู้จักเฝ้าระวังสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆทีใช้ในการประกอบอาหาร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ และความปลอดภัย

1.นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 60 มีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการ และความปลอดภัย

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพดีชีวีมีสุข เเก่เเกนนำ อย.น้อย นักเรียนเเละผู้ปกครองโดยจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการฉลาดเลือกบริโภค จำนวน 2 รุ่น

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพดีชีวีมีสุข เเก่เเกนนำ อย.น้อย นักเรียนเเละผู้ปกครองโดยจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการฉลาดเลือกบริโภค จำนวน 2 รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพดีชีวีมีสุข แก่แกนนำ อย.น้อย นักเรียนและผู้ปกครอง โดยจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องการฉลาดเลือกบริโภคจำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 (นักเรียน) รุ่นที่ 2 (ผู้ปกครอง)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 1 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการและมีความปลอดภัยได้ นักเรียนและผู้ปกครองมีทักษะการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารในโรงเรียนและครัวเรือน นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักเฝ้าระวังสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ใช้ในการประกอบอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16050.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมขบวนการ อย.น้อย นักสำรวจ

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมขบวนการ อย.น้อย นักสำรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.กิจกรรมขบวนการ อย.น้อย นักสำรวจ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 1 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการและมีความปลอดภัยได้ นักเรียนและผู้ปกครองมีทักษะการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารในโรงเรียนและครัวเรือน นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักเฝ้าระวังสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ใช้ในการประกอบอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมจัดบอร์ดสุขภาพน่ารู้

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมจัดบอร์ดสุขภาพน่ารู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.กิจกรรมจัดบอร์ดสุขภาพน่ารู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 สิงหาคม 2563 ถึง 3 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการและมีความปลอดภัยได้ นักเรียนและผู้ปกครองมีทักษะการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารในโรงเรียนและครัวเรือน นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักเฝ้าระวังสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ใช้ในการประกอบอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
970.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการและมีความปลอดภัยได้
นักเรียนและผู้ปกครองมีทักษะการตรวจสอบเฝ้าระวังอาหารในโรงเรียนและครัวเรือน
นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักเฝ้าระวังสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่ใช้ในการประกอบอาหาร


>