กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (เบาหวานแอบแฝง)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (เบาหวานแอบแฝง)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โนนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเขวา อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 150 คนในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี 2563 เป้าหมายประชากร ๑๕ ปี ขึ้นไป จำนวน 1,389 คน คัดกรองได้ ๑,375 คน คิดเป็นร้อยละ 98.99 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 7.64 กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 14.86ผู้ป่วยรายใหม่5 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน 175 คน คิดเป็นร้อยละ 12.73 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 18.29 ผู้ป่วยรายใหม่ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15.63
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเขวา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (เบาหวานแอบแฝง)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความสามารถมีทักษะและตระหนักในการจัดการสุขภาพตนเอง 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับรู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
  2. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ ทักษะและความตระหนักในการจัดการ สุขภาพตนเอง
  3. กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
10.00 1.00

1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความสามารถมีทักษะและตระหนักในการจัดการสุขภาพตนเอง
3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 150

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. จัดทำทะเบียนผู้มารับบริการคลินิกโรคเบาหวาน (เบาหวานแอบแฝง)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนเขวา
๒. ประเมินระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและระดับความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทุก 3 เดือน ๓. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน (เบาหวานแอบแฝง)และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง   โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น โดยมีหัวข้อหลักดังนี้ คือ         ๓.๑  ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง         ๓.๒  การรับประทานอาหาร ๓.๓  การออกกำลังกาย ๓.๔  การสังเกตและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง ๔. ช่องปากและฟัน ๕. การดูแลสุขภาพเท้าและการนวดเท้าด้วยตนเอง ๖. ประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดติดตามสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผลการประเมินความรู้หลังอบรมมีความรู้ มากกว่าร้อยละ 80
    1. ผลการประเมินปัจจัยเสี่ยงน้ำหนัก BMI รอบเอว ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
      มากกว่าร้อยละ 80
    2. ผลการประเมินจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรับรู้ถึงภาวะสุขภาพของตนเอง
2. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ ทักษะและความตระหนักในการจัดการสุขภาพตนเอง
3. กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน


>