กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนพ่อแม่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ธาตุ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองฮาง

หมู่บ้านในความรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหนองฮาง จำนวน 15 บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รับทราบข้อมูลขั้นตอนการเข้ารับบริการและสามารถเข้าถึงบริการการฝากครรภ์ได้สะดวกและรวดเร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
1.2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและการดูแลทารกแรกเกิดถึง 5 ปี จากการเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
1.3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตนเข้ารับบริการตามหลักเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพตั้งแต่การฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอด และการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี
1.4 เพื่อให้เครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยแม่และเด็ก ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่
1.5 เกิดโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน 15 หมู่บ้าน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 55
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจ ค้นหาจัดทำทะเบียนหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดทุกหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน 2.ประชาสัมพันธ์รูปแบบเสียงตามสายหมู่บ้าน ให้ความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ช่องทางสำหรับหญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ที่ รพ.สต.บ้านหนองฮาง ทุกวัน พฤหัสบดี
3.รณรงค์กิจกรรมมาฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
4.เติมความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และครอบครัว  ตามแผนดำเนินกิจกรรม 5.กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้ - การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์          จำนวน 1 ชั่วโมง - ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์    จำนวน 1 ชั่วโมง - ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์      จำนวน 1 ชั่วโมง 6. การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง - เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนการออกเยี่ยม - แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จาก สมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู และหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม - การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม มีแนวปฏิบัติดังนี้ -กรณีหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ความเสี่ยงต่ำติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไป ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล และออกเยี่ยม 1 ครั้งก่อนไปฝากครรภ์ครั้งต่อไป โดยการซักถามอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ตรวจครรภ์ วัดความดันโลหิต แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา (ธาตุ เหล็ก ไอโอดีนและโฟลิก) การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล -กรณีหญิงตั้งครรภ์ ที่มีความเสี่ยงสูง ติดต่อสอบถามทุกครั้งหลังจากหญิงตั้งครรภ์ไปฝาก ครรภ์ที่โรงพยาบาล และขออนุญาตประสานข้อมูลกับโรงพยาบาล สอบถามอาการ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจครรภ์ วัดความสูงของยอดมดลูก ตรวจดูภาวะบวมที่ขาและเท้า ตรวจไข่ขาวในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจปัสสาวะ แนะนำการดูแลตนเองตามอายุครรภ์ เช่น การรับประทานอาหาร การกินยา การพักผ่อน อาการผิดปกติหรือภาวะ ฉุกเฉิน ช่องทางติดต่อกับเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาล กรณีหญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตเพิ่มมากกว่าปกติหรือสูง ทำการเฝ้าระวังและติดตามทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือมากกว่า เพื่อชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจโปรตีนในปัสสาวะ ทั้งนี้อาจให้หญิงตั้งครรภ์ และญาติดำเนินการเองโดยให้ยืมเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดันโลหิต และแผ่นตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ พร้อม บันทึกผล  ติดต่อปรึกษาหารือกับแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการดูแลและส่งต่อที่เหมาะสม -กรณีหญิงหลังคลอด: ออกเยี่ยมอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อตรวจดูแผลฝีเย็บและน้ำคาวปลา ตรวจดูเต้านม แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับประทานอาหาร การกินยา 7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลธาตุ งบประมาณโครงการ 1. ค่าป้ายจัดอบรมโครงการ  จำนวน 1 ป้าย                     เป็นเงิน      500  บาท 2. ค่าอาหารกลางวันอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่ สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และครอบครัว  15 หมู่บ้าน รวมจำนวน 505   คน x คนละ 70 บาท                        เป็นเงิน    35,350  บาท 3. ค่าวิทยากร จำนวน 10 วันๆละ ๓ คนๆละ ๒ ชั่วโมงๆละ 3๐๐ บาท  เป็นเงิน    18,000 บาท
4. ค่าป้ายโรงเรียนพ่อแม่ จำนวน 15 ชิ้นๆ ละ 500 บาท          เป็นเงิน      7,500  บาท หมายเหตุ  งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
61350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
2. หญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดและการดูแลทารกแรกเกิดถึง 5 ปี
3. หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพตั้งแต่การฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอด และการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี
4. เกิดภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานอนามัยแม่และเด็ก 15 หมู่บ้าน
5. เกิดโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน 15 หมู่บ้าน


>