กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

มาตราการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองฮี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

มาตราการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หนองฮี

โรงเรียนบ้านจรุกเตย ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

นักเรียน ครู และบุคคลที่เข้า - ออกโรงเรียน

โรงเรียนบ้านจรุกเตย ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

๑. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอน
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – 19) ให้สถานศึกษาสามารถ
เลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ และสถานการณ์ระดับความรุนแรงการระบาดของโรค
๒. สถานศึกษาดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
(COVD - 19) ในสถานศึกษา โดยสอดคล้องตามคู่มือ "การเฝ้าระวังติดตาม และแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดของโรคโควิด - ๑๙ ในสถานศึกษา" (เล่มปกสีชมพู ทั้งนี้ ให้สถานศึกษาจัดทำและชักซ้อมแผนเผชิญเหตุ
เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (COVID - 19) ในสถานศึกษา
๓. สถานศึกษาดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID - 19) ได้แก่มาตรการหลัก และ ๖ มาตรการเสริม รองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - 19) โดยเน้นย้ำให้ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งผู้มาติดต่อในสถานศึกษาทุกคน ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - 19) ดังนี้
๓.๑ มาตรการหลัก (DMHT-RC) ๖ ประการ ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) เว้นระยะห่าง
ระหว่างบุคคล อย่างน้อย ๑ - ๒ เมตร ใส่หน้ากาก (Mask Wearing ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา ล้างมือ (Hand Washing) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ นาน ๒๐ วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์คัดกรองวัดไข้ (Testing) วัดไข้ สังเกตอาการ ซักประวัติผู้สัมผัสเสียงทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา ลดการแออัด(Reducing) ลดการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง กลุ่มคนจำนวนมาก และทำความสะอาด (Cleaning) บริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม อาทิ ที่จับประตู ลูกบิดประตู ราวบันใด ปุ่มกดลิฟต์ เป็นต้น
๓.๒ มาตรการเสริม (SSET-CQ) ๖ ประการ ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self care) ดูแลใส่ใจ
ปฏิบัติตน มีวินัย รับผิดชอบตัวเอง ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ใช้ซ้อนกลางส่วนตัว (Spoon) ใช้ช้อนกลางของตนเองทุกครั้ง เมื่อต้องกินอาหารร่วมกัน ลดสัมผัสร่วมกับผู้อื่น กินอาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) อาหารปรุงสุกใหม่ร้อน ๆกรณีอาหารเก็บเกิน ๒ ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนทั่วถึง ก่อนกินอีกครั้งไทยชนะ (Thai chana) ลงทะเบียนตามที่รัฐกำหนดด้วย app ไทยชนะ หรือลงทะเบียนบันทึกการเข้า - ออกอย่างชัดเจน สำรวจตรวจสอบ (Check) สำรวจบุคคล นักเรียน กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง และ กักกันตัวเอง (Quarantine) ๑๔ วัน เมื่อเข้าไปสัมผัสหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค
ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรควิดในโรงเรียน ให้เป็นไปตาม“คู่มือการปฏิบัติ สําหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19” จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิดในโรงเรียน ให้เป็นไปตาม มาตราการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (COVID 19) ของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 57
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 มาตราการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564

ชื่อกิจกรรม
มาตราการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็น ในการคัดกรอง เฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามแนวทางของคู่มือการปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้แก่ อ่างล้างมือ เจล แอลกอฮอลล์ เครื่องวัดอุณหภูมิ และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้สามารถเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิดในโรงเรียน ให้เป็นไปตาม คู่มือการปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ทำให้สามารถเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิดในโรงเรียน ให้เป็นไปตาม คู่มือการปฏิบัติ สำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้


>