กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลควนขนุน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลควนขนุน

คณะกรรมการ อสม.เทศบาลตำบลควนขนุน

1. นายโสภณบุญยาดิสัย
2. นางอภิรดีสุขไข่
3. นางปราณีคงใหม่
4.นายพันเลิศ จันทนูปถัมภ์
5. นางสาวณัฐชยาศรีนวลพุฒ

ร้านขายของชำในเขตเทศบาลตำบลควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ (จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)

 

1.00
2 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)

 

5.00
3 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้าน)

 

2.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

5.00 12.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น(ร้าน)

2.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)

1.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 600
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี - ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ - ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่  (1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา (2) สถานพยาบาลและร้านขายยา (3) สถานศึกษาทุกระดับ (4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก  - กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต - ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น - ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน - ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท งบประมาณ ประกอบด้วย 1.ค่าจัดทำแผ่นพับเอกสารเรื่อง พรบ.ผลิตภัณฑ์ยาสูบ จำนวน 20 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 200 บาท 1.ค่าจัดทำแผ่นพับเอกสารเรื่อง พรบ.ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต เจ้าของร้านขายของชำ จำนวน 13 ร้าน ได้รับความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลลัพธ์
ร้อยละ ๘๐ ของเจ้าของร้านขายของชำมีการจดทะเบียนและสามารถปฏิบัติตาม พรบ. ผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

กิจกรรมที่ 2 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของ อสม.เพื่อดำเนินงานด้านยาสูบ
  2. จัดประชุม อสม.เพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข
  3. ติดตาม ร้านขายของชำในการปฏิบัติตามกฎหมาย/พรบ.ผลิตภัณฑ์ยาสูบ งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับ อสม.และเจ้าหน้าที่ ที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท       รวมเงิน  375  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีเครื่อข่าย (อสม.)ช่วยดำเนินงานด้านยาสูบ จำนวน 1 ชุุด ผลลัพธ์ ร้านขายของชำได้รับการตรวจ/เฝ้าระวังในการปฏิบัติตาม พรบ. ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 3 เพิ่มจำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ

ชื่อกิจกรรม
เพิ่มจำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ประกอบด้วย กรรมการชุมชน จิตอาสา กลุ่มสตรี เป็นต้น โดยเป็นผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่
  2. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น

- ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่ - ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่ - ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่ - ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่ - ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่ - ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่ - ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่ - ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่ - ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่ - ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่ 3. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น - การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน - เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง - การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ - คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน - มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ - ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน 4.การรณรงค์การลด ละ เลิก บุหรี่ โดยการเดินรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ
5. ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง งบประมาณ 1.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000บาท 2. ค่าจัดทำสปอร์ตเพื่อประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จำนวน 1 ชิ้นงาน เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการกำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมยาสูบโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผลลัพธ์ สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,575.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ : สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ทุกรายการ
: ไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณอื่น

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้านขายของชำปฏิบัติตาม พรบ.ผลิตภัณฑ์ยาสูบและสามารถลดอัตราการเกิดนักสูบหน้าใหม่ได้


>