กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
บ้านทุ่งโพธิ์ "หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะ"
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์
กลุ่มคน
1. นางสมจิต คงสีแก้ว
2. นางชูศรี เพชรช่วย
3. นางจิราภรณ์ สกุลหนู
4. นางภิญโญ วงศ์นคร
5. นางพยอมบกเขาแดง
3.
หลักการและเหตุผล

จากสภาพปัจจุบันชุมชน บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและประชาชนเพิ่มขึ้นจะมีปัญหาในเรื่องขยะที่นับวัน ปริมาณขยะจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทำให้ชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดูไม่เป็นระเบียบไม่สะอาดและเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำและอาหารเป็นสื่อ หรือสารพิษจากขยะที่เป็นสารเคมี เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นาไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้างก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ
ดังนั้น หากมีการจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การจัดการขยะอย่างเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยมีการสร้างแกนนำให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ จึงมีความต้องการที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจการลด คัดแยก นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับแกนนำ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และเป็นชุมชนต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. มีครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำเพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการคัดแยกขยะเป็นประจำ
    ขนาดปัญหา 7.00 เป้าหมาย 20.00
  • 2. มีครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการใช้ประโยชน์จากขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
    ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 20.00
  • 3. มีครัวเรือนมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า เพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า
    ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 20.00
  • 4. จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
    ตัวชี้วัด : เกิดกลุ่มในการจัดการขยะในชุมชน
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 1.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ3Rs การใช้ประโยชน์จากขยะในครัวเรือน
    รายละเอียด
    1. อบรมผู้นำหรือตัวแทนประชาชนในแต่ละเขต ทั้ง 7 เขต เขตละ10 คน ให้ความรู้เรื่องต่างๆดังนี้ 1.1 การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก หรือหลัก 3ช 1.2 การคัดแยกขยะแต่ละประเภท 1.3 การทำน้ำหมักชีวภาพอย่างง่ายในครัวเรือน

    - ค่าอาหารว่าง จำนวน 70 คน คนละ 25 บาทเป็นเงิน 1,750 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าเอกสารความรู้เรื่อง การจัดการขยะ 100 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด สูง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

    งบประมาณ 4,100.00 บาท
  • 2. รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือน
    รายละเอียด

    รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนดังนี้ 1. การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก 2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ
    3. ป้ายรณรงค์ให้ความรู้เรื่อง:การลดขยะด้วยแนวคิด 3Rs รักษ์โลก ขนาดสูง 2 เมตร ยาว 2.50 เมตร จำนวน 14 ป้าย (ให้เขตละหนึ่งป้าย จำนวน 7 ป้าย ให้โรงเรียน 1 ป้าย และบริเวณข้างถนน 4 ป้ายเก็บไว้ใน ศสมช. 2 ป้าย) ราคาป้ายละ 750 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 4. ป้าย:ห้ามทิ้งขยะบริเวณนี้ ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาทขนาดสูง 2 เมตร ยาว 2.50 เมตร จำนวน 4 ป้าย ป้ายละ 750 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 5. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะทุกประเภทอย่างถูกวิธี ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายในชุมชนทุกวันศุกร์ ประชุมประจำเดือนชาวบ้านกลุ่มไลน์หมู่บ้าน หรืออื่นๆ

    งบประมาณ 13,500.00 บาท
  • 3. ธนาคารขยะ
    รายละเอียด
    1. บริการรับฝากขยะแปลงเป็นเงิน

    - ค่าป้ายไวนิวจุดรับฝากธนาคารขยะ ขยาดสูง 1.5 เมตร สูง 2 เมตร คิดเป็น 3 ตารางเมตร ราคาตารางเมตรละ 150 บาท คิดเป็นเงิน 450 บาท - ค่าตาชั่งขนาดรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัม ราคา 3,000 บาท - ค่าเครื่องคิดเลข(หน้าจอใหญ่) จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 700 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
    - สมุดประจำตัวสมาชิก ราคาเล่มละ 5 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน 250 บาท - สมุดเบอร์2 (สำหรับทำทะเบียนลูกค้า บัญชีรายรับรายจ่าย และอื่นๆ) จำนวน 5 เล่มเล่มละ 85 บาท เป็นเงิน 425 บาท

    งบประมาณ 5,525.00 บาท
  • 4. บ้านต้นแบบการจัดการขยะในครัวเรือน
    รายละเอียด
    1. แต่ละเขตคัดเลือกบ้่านเข้ารับการประเมินบ้านต้นแบบในการจัดการขยะ อย่างน้อยเขตละ 1 หลัง โดยจะมีกรรมการลงประเมินคัดเลือก ซึ่งครธกรรมการประกอบด้วย 5 ท่านได้แก่ 1. นายกเทศมนตรี2. ตัวแทนจากสาธารณสุข3. ปลัดประจำตำบล 4.ผอ.โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์และ 5.ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 บ้านทุ่งโพธิ์

    - ค่าเบี้ยเลี้ยงคณะกรรการในวันที่ประเมิน คนละ 120 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 600 บาท - ค่าธงบ้านต้นแบบ จำนวน 7 ผืน (มอบให้ตัวแทนที่เข้ารับการประเมิน)ราคาผืนละ 25 บาท เป็นเงิน 175 บาท
    - ค่าเกียรติบัตรมอบให้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-3ใบละ 15 บาท เป็นเงิน 45 บาท

    งบประมาณ 820.00 บาท
  • 5. ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ
    รายละเอียด
    1. ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ โดยตั้งที่ศสมช.บ้านทุ่งโพธิ์หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งโพธิ์

    - ค่าถังขยะ 4 สี่ ขนาด 60 ลิตร ใบละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ป้ายโฟมบอดสำหรับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ขนาด สูง 1 เมตร ยาว 2 เมตร คิดเป็น 2 ตารางเมตรละ 750 บาท เป็นเงิน 1,500บาท - ตู้โชว์บานกระจก สำหรับโชว์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากขยะ 1 ใบ ราคา 4,000 บาท - โต๊ะสำหรับทำงานและเก็บเอกสาร จำนวน 2 ตัว ตัวละ4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 2. จัดอบรมขยะเพิ่มอาชีพสร้างเงิน
    จัดอบรมการสร้างอาชีพจากขยะ 2 รุ่น โดยผู้ที่สนใจรุ่นละ 10 คน รุ่นละ 3 ชั่วโมง - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

    งบประมาณ 19,500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ม.5 บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 43,445.00 บาท

หมายเหตุ : รายจ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำเพิ่มขึ้น
  2. ครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. ครัวเรือนมีการนำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า
  4. เกิดหมู่บ้านต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ในการจัดการขยะ
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล รหัส กปท. L5192

อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 43,445.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................