กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกลบุหรี่ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกลบุหรี่ ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

กลุ่มแกนนำสุขภาพตำบลฝาละมี

1. นายสุรสิทธิ์โร
2. นายเจริญสุวรรณเจริญ
3. นางเพียรกวดขัน
4. นายประยูรเกษตรกาลาม์
5. นางนุชนาถไหมแก้ว

ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2559 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำ และอีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งคราว เมื่อเปรียบเทียบการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2561 พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5 ) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน
พื้นที่ ตำบลฝาละมีจำนวนประชากรทั้งหมด 10,939 คน โดยช่วงอายุ 15-25 ปี มีจำนวน 1,533 คน (ข้อมูลจาก JHCIS ปี พ.ศ. 2563) พฤติกรรมของคนสูบบุหรี่ใน ตำบลฝาละมี สามารถสูบบุหรี่ได้ทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชินและประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจากคนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ ดังนั้นกลุ่มแกนนำสุขภาพตำบลฝาละมีได้เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำการโครงการเยาวชนยุคใหม่ห่างไกลบุหรี่ ขึ้นเพื่อให้เยาวชนในโรงเรียนมีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ รู้จักการปฏิเสธและสร้างเครือข่ายในเยาวชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ 20)

45.00 20.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะ

การได้รับควันบุหรี่มือสองในสถานที่สาธารณะลดลงเหลือร้อยละ 20

45.00 25.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น(ร้าน)

70.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนให้ชุมชนจัดภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัด โซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนให้ชุมชนจัดภาพแวดล้อมให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ และส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมาย จัด โซนนิ่งเขตสูบบุหรี่/ไม่สูบบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เช่น ร้านค้าในชุมชนห้ามขายบุหรี่ แก่เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การห้ามติดป้ายโฆษณาบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมอบรมให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในวัยรุ่น  โรงเรียนควนพวนพระสาครินทร์

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมอบรมให้เกิดความรู้ ความตระหนัก และค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาศักยภาพทักษะปฏิเสธ+พิษภัยของบุหรี่ ในวัยรุ่น  จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 4 ประเมินติดตามร้านจำหน่ายบุหรี่ในชุมชน/ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินติดตามร้านจำหน่ายบุหรี่ในชุมชน/ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น
2.เยาวชนที่ผ่านการอบรมมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ลดลง
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีทักษะการปฏิเสธ


>