กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชมรมผู้สูงอายุ เขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

ชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบายะลา เขตเทศบาลนครยะลา

ประชาชนในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบายะลา เขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและพบว่าผู้สูงอายุมีความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย อัตราการเป็นภาระโดยรวมในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2533- 2553 และค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากปี 2553-2563 เนื่องจากอัตราเกิดที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับทดแทนและอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่สูงขึ้นมีผลทำให้กลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั้งสัดส่วนและจำนวน ดังนั้นอัตรา การเป็นภาระในวัยเด็กจึงลดลง ในขณะที่การเป็นภาระในวัยชรามีอัตราเพิ่มขึ้น
จากข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สสจ.ยะลา ปี 2564ผู้สูงอายุในจังหวัดยะลามีจำนวน 54,605 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 49,762 คน คิดเป็นร้อยละ 91.13 ซึ่งอำเภอเมืองยะลามีผู้สูงอายุมีจำนวน 20,126 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 17,654 คนคิดเป็นร้อยละ 87.72เขตเทศบาลนครยะลามีผู้สูงอายุมีจำนวน 7,869 คน คัดกรองโรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 7,109 คนคิดเป็นร้อยละ 90.34 พบว่าผู้สูงอายุเขตเทศบาลมีความเสี่ยงรายด้านที่ต้องเฝ้าระวัง โรคทาง Geriatric Syndromes จำนวน 573 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 จากการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม จำนวน 200 คน จำแนกกลุ่มติดสังคม จำนวน 158 คน ติดบ้าน 22 คน ติดเตียง 6 คนและทำการตรวจคัดกรองประเมินกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living : ADL) พบปัญหาการลุกนั่งที่ต้องการความช่วยเหลือบ้างและการกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยอยู่ จำนวน 112 คน คิดเป็นร้อยละ 56
ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลยะลา เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้มีความสามารถในการจัดการตนเองและควบคุมโรคต่าง ๆ รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงจัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมในชมรมผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถเฝ้าระวังสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
  1. ค่าคะแนนความรู้ภายหลังการอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจและมีทักษะในการจัดการตนเองในภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุสามารถประเมินโรคทาง Geriatric Syndromes ตาม ตามแบบประเมินในโครงการ ฯ
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมี ส่วนร่วมในชมรมผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 เป้าหมาย ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุรวมจำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบมี ส่วนร่วมในชมรมผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2564 เป้าหมาย ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุรวมจำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถเฝ้าระวังสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
2.ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจและมีทักษะในการจัดการตนเองเมื่อมีภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ


>