กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ครั้งที่ 4

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาละ

นางสาวนูรือมา ลายามุง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เปิดสถานที่เพื่อสังเกตอาการ (Local Quarantine)ณ โรงเรียนบ้านลาแล หมู่ที่ 5 ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 เนื่องด้วยการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นคราวๆ ออกไปอย่างต่อเนื่อง และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 17) ประกาศ ลงวันที่ 6 มกราคม 2564 โดยให้มีผลวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งได้กำหนดการยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคและนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 11) ลงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ซึ่งได้ตรวจสอบพบผู้ติดโรคจำนวนมาก สถานการณ์การระบาดของโรคจึงยังคงเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นภัยคุกคามความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงปลอดภัยด้านสาธารณสุข และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งมาตรการที่เข้มขนและมีประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค รวมทั้งควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขของประเทศ จึงให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปควบคู่กัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2564จนถึงปัจจุบันประกอบกับคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดยะลา ที่ 28/2564 เรื่อง ปิดสถานที่เสี่ยง และกำหนดมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกเมษายน ในพื้นที่จังหวัดยะลา พบผู้ติดเชื้อย่างต่อเนื่อง และจากการติดตามการสอบสวนโรคพบว่า มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเกิดจากการสัมผัสบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง การเข้าร่วมกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก การสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนกลุ่มเครือญาติ และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา จึงมีความจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรคมิให้แพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง และกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน จึงออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ จำนวน 5 มาตรการรายละเอียดตามประกาศซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ถึงปัจจุบัน
เพื่อเป็นการป้องกันดำเนินการ ให้มีการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ เนื่องจากตำบลบาละมีผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และอาจกระจายออกสู่บุคคลอื่นเป็นวงกว้าง ซึ่งถือเป็นเหตุสาธารณภัยฉุกเฉิน ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ใช้อาคารของโรงเรียนหรืออาคารเอนกประสงค์เพื่อเป็นสถานที่กักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง และบุคคลที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ ค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง เป็นเงิน 4,800.-บาท
2.ค่าเบี้ยเลี้ยงเจ้าหน้าที่ ที่มาปฏิบัติงาน ณ ศูนย์กักตัว เป็นเงิน 10,560.-บาท 3.น้ำดื่มสะอาด ชนิดขวด เป็นเงิน 2,880.-บาท
4.จ้างเหมาบริการค่าทำความสะอาด เป็นเงิน 22,000.-บาท
5.ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยงเป็นเงิน 18,920.-บาท
6.ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นเงิน 40,840.-บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000.-บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %


>