กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด 19 หมู่ที่ 8 บ้านคลองควาย ตำบลปากบาง อำเภอเทพา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

คณะกรรมการหมู่บ้านคลองควาย หมู่ที่ 8 ตำบลปากบาง

1. นายเกรียงศักดิ์ แวกือจิ
2. นายเกษม ลาเต๊ะ
3. นางสุวิมล เจ๊ะซู
4. นายอับดุลรอนี มามะ
5. นายดิง สะแม

หมู่บ้านคลองควาย หมู่ที่ 8 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

80.00
2 ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

70.00
3 ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

 

85.00

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกมีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก มีมาตรการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้ให้สังเกตเพื่อการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคจากผู้เดินทางซึ่งมาจากท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักรกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคCOVID-19 กรณีจำเป็นต้องพบปะผู้อื่น ให้ใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และรักษาระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 - 2 เมตรหรือ 1 - 2 ช่วงแขน และใช้เวลาพบปะผู้อื่นให้สั้นที่สุด หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตาจมูก ปาก โดยไม่จำเป็น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน
ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) จำนวน 207,428 ราย มีผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 44 ราย โดยพบผู้ป่วยกระจายทุกจังหวัด กรุงเทพมหานคร มียอดผู้ป่วยสะสม 63,835 ราย ,จังหวัดสมุทรปราการมีผู้ป่วยสะสม 14,788 ,จังหวัดนนทบุรี มีผู้ป่วยสะสม 10,154 ราย ,จังหวัดชลบุรี มีผู้ป่วยทั้งหมด 7,022 ราย จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยยืนยันสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) จำนวน 4,303 ราย แยกเป็นรายอำเภอ คือ อำเภอหาดใหญ่ 1262 ราย ,อำเภอเมือง 703 ราย อำเภอจะนะ 338 ราย อำเภอสะเดา 272 ราย อำเภอเทพา 134 ราย ในเรือนจำ 931 ราย อำเภอเทพาพบผู้ป่วยยืนยัน 338 ราย แยกเป็นรายตำบลท่าม่วง 71 ราย ,ตำบลเทพา 50 รายตำบลปากบาง 23 ราย ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ในชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ตำบลปากบาง จึงต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

80.00 95.00
2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ร้อยละความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

70.00 95.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนในชุมชนมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

ร้อยละของครัวเรือนในชุมชนมีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)

70.00 95.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 195
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดชื้ออุปกรณ์ป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดชื้ออุปกรณ์ป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดชื้ออุปกรณ์ป้องกันโรค จำนวน 92,400 บาท 1. หน้ากากอนามัย ขนาด 50 ชิ้น/กล่อง  จำนวน 250 กล่องๆ ละ 125 บาท  เป็นเงิน 31,250 บาท 2. ถุงมือ Size. M  จำนวน 12 กล่องๆ ละ 150 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท 3. น้ำยาฆ่าเชื้อ   จำนวน 20 ขวดๆละ 60 บาท  เป็นเงิน 1,200 บาท 4. กระดาษเช็ดมือ  จำนวน 15 กล่องๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 750 บาท 5. Gel ล้างมือ 500 ml. จำนวน  250 ขวดๆละ 180 บาท  เป็นเงิน 45,000 บาท 6. cotton Alcohol 70% sterile  จำนวน 1 กล่องๆละ 1,200 บาท  เป็นเงิน 1,200 บาท 7. กล่องเก็บอุปกรณ์ ขนาด 67*48  จำนวน 1 กล่องๆละ 200 บาท  เป็นเงิน 200 บาท 8. เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบยิงหน้าผาก จำนวน 3 เครื่อง
    เครื่องละ 3,000 บาท  เป็นเงิน 9,000 บาท 9. แอลกอฮอล์70% ขนาด 1 ลิตร จำนวน 5 แกลลอนๆละ 200 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท 10. FaceShiled จำนวน 40 ชิ้น ๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนครัวเรือนมีอุปกรณ์ป้องกันโรคเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
92400.00

กิจกรรมที่ 2 ตั้งจุดคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
ตั้งจุดคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้ออาหารว่าง  จำนวน  7,500 บาท 1. ค่าอาหารว่าง จำนวน 300 ชุด(10ชุด/วัน*30วัน) ชุดๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ความครอบคลุมในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชนเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีด่านตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)ในหมู่บ้าน
2. ลดความตื่นตระหนักของประชาชนและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้
4. จำนวนครัวเรือนมีอุปกรณ์ป้องกันโรคเพิ่มขึ้น


>