กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด - 19 ระดับพื้นที่ (LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด - 19 ระดับพื้นที่ (LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา

-

กิจกรรมที่2.1 กิจกรรมการจัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (ณโรงเรียนบ้านตลาดนัดคลองขุด หมู่ที่ 1 ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี) กิจกรรมที่2.2กิจกรรมการคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศ เพื่อนบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่13กันยายน2561ข้อ6กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการสถานบริการหน่วยงานสาธารณสุขหน่วยงานอื่นองค์กร หรือกลุ่มประชาชนเพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นและตามข้อ10เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานโครงการหรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้ (5)เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกั้นและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่
ประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่31มีนาคม 2563ข้อ10/1กำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อและคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ10ได้ทันต่อสถานการณ์ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็นได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการโดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วยแล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ” อีกทั้ง
ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ระลอกสาม ช่วงเดือนเมษายนจวบจนถึงปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ100คนทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึงตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงในระดับน้อยถึงมากโรงพยาบาลคงต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็นนอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกาซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดปัตตานีได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่หรือ Local Quarantine : LQเพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเพื่อรองรับผู้ที่จะถูกกักตัวที่เดินทางมาจากจังหวัดอื่นตามที่สาธารณสุขกำหนดขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 67(3) โดยกำหนดให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และเป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุดและในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยังมีผลการตรวจพบผู้ติดเชื้อฯรายวันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (High rishXontact) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้การจัดเตรียมสถานที่สำหรับเป็นสถานที่เพื่อควบคุมเพื่อสังเกตอาการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา คือโรงเรียนบ้านตลาดนัดคลองขุด หมู่ที่ 1 ตำบลบางเขา จึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา ประจำปี 2564ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงทีต่อไปหากเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติขึ้นจริงในพื้นที่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคและระงับยับยั้งการระบาดของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

 

20.00 0.00
2 เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน

 

70.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง(ค่าอาหารสำหรับผู้ที่ถูกกักตัว วันละ3มื้อ ๆ ละ50บาท) จำนวน20คน คนละ 150บาท เป็นระยะเวลา 14 วัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น42,000บาท 2.ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง จำนวน20ชุด ๆละ 2,450บาท คิดเป็นเงิน 49,000บาท 3. แอลกอฮอล์ ชนิดขวดปั๊ม ขนาด 450 ml จำนวน 13 ขวดๆละ 85 บาทเป็นเงิน1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
92100.00

กิจกรรมที่ 2 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทน อสม. หรือ(เบี้ยเลี้ยงตามระเบียบการจ่ายของหน่วยงานขอรับทุน) จำนวน 49คน x 160บาท เป็นเงิน 7,840 บาท ** หมายเหตุสำหรับรายการนี้ จะเบิกเฉพาะวันที่มีเคสเข้ามาเท่านั้น โดยต้องแนบแบบรายงานการปฏิบัติงานของ อสม.ประกอบการเบิกจ่ายรายการนี้ด้วยทุกครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,940.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%


>