กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะเครียะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเครียะ

1.นางปฐมาพร พิทักษ์
2.นางมณรธีร์ จิตจินดา
3.นางพัชรี เตี้ยนวล
4.นางสาวโศรยา จันทร์เสียม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเครียะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ อันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมี ที่่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรังสารเคมีจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตา ผิวหนัง ตับ ไต ปอด สมอง ระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ุ ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สำหรับพื้นที่ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และจากการดำเนินโครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดเกษตรกร ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 100 คน พบว่า มีผลเลือดในระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 19.80 และผลเลือดในระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 6.93
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะเครียะ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรและผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภค ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดุว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

100.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย

80.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือด ระดับเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัย ได้รับการจ่ายยาสมุนไพรรางจืด

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลเลือด ระดับเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัย ได้รับการจ่ายยาสมุนไพรรางจืด

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีและผู้บริโภค จำนวน 2 รุ่นๆละ 1วัน 2.ทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม 3.เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด 4.สรุปผลการดำเนินการ งบประมาณ 1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 ป้ายๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 2.ค่าวัสดุในการอบรม (แฟ้มเอกสาร สมุด ปากกา) จำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 3.อาหารกลางวัน จำนวน 40 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 4.อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 2,000 บาท 5.ค่าวิทยากร 6ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท 6.ค่าชุดทดสอบ 1 กล่องๆละ 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย ชุมชนมีการลดใช้สารเคมีในการเกษตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรมีพฤติกรรมการป้องกันการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
2.ชุมชนมีการลดใช้สารเคมีในการเกษตร


>