กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนนาแคร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค ตำบลคลองขุด

1. นางจิราภรณ์ พรหมเมศว์ ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 บ้านนาแค
2. นางสาววรพรรณรักนุ้ย สมาชิก
3. นางอรศิริ พรหมเมศวร์ สมาชิก
4. นางสาวฟาตีม๊ะ เหร็บควนเคี่ยม สมาชิก
5. นางผอนบัวผัน สมาชิก

หมู่ที่ 5 บ้านนาแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน(คน)

 

3.00
2 กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ(กิจกรรม)

 

0.00
3 มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ)

 

0.00
4 กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน)

 

5.00
5 อัตราการเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาของผู้เสพและผู้ติดทั้งภาครัฐและเอกชน(ร้อยละ)

 

4.00
6 ร้อยละของการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน

 

90.00

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศทั้งในพื้นที่หมู่บ้าน ชุมชน ทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สาธารณสุข และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติ มีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเศรษฐกิจ การศึกษาโครงการสร้างและสัมพันธภาพของครอบครัว การเลี้ยงดู ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งปัญหาอาชญากรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้น เช่น คดีข่มขืน ฆ่า ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น ผู้ก่อเหตุในหลายคดีเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะในฐานะเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ หรือผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติดเป็นตัวบ่อนทำลายความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข
การดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชน โดยการเสริมสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเอง ในปัจจุบันถือว่าการเสพติดคือการเจ็บป่วย แนวทางการช่วยเหลือบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลถึงการแก้ไขปัญหาได้อย่างไรก็ตามปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมีความสัมพันธ์กับปัญหาอื่น ๆ หลายด้าน เช่น ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ซึ่งเป็นทั้งสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น ดังนั้นการบำบัดรักษาและการช่วยเหลือผู้ติดสารเสพติดย่อมต้องพิจารณาหลายมิติแบบองค์รวม โดยเฉพาะมิติด้านสังคม ซึ่งพบว่าผู้เสพที่ผ่านการบำบัดนั้นขาดภูมิคุ้มกันทางใจ ขาดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ จึงกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านนาแค จึงได้จัดทำโครงการชุมชนนาแคร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรขึ้น เพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มอัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติด

อัตราการเข้าถึงระบบการบำบัดรักษาภาครัฐของผู้เสพและผู้ติดในชุมชนเป็นไปอย่างทั่วถึงเพิ่มมากขึ้น(ร้อยละ)

4.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน

จำนวนผู้ที่ผ่านการบำบัดและกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

3.00 33.00
3 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

5.00 36.00
4 เพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน

อัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

90.00 50.00
5 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)

0.00 1.00
6 เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ

กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น(กิจกรรม)

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 373
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แกนนำในการดำเนินโครงการ ร่วมกันค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตนของผู้เสพผู้ติดยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
แกนนำในการดำเนินโครงการ ร่วมกันค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตนของผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ
  2. ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องการดำเนินโครงการ
  3. ประชุมแกนนำในการดำเนินโครงการ เพื่อแบ่งเขตการลงพื้นที่ จำนวน 4 เขต ดังนี้ เขตที่ 1 นาแครวมใจ (โซนหน้าเขาถึงวังระย้า)       เขตที่ 2 นาแคก้าวหน้า (โซนหลัง รพ.สต.คลองขุดถึงศาลาอเนกประสงค์)       เขตที่ 3 นาแคยั่งยืน (โซนศาลาอเนกประสงค์ถึงโรงเรียนบ้านนาแค)       เขตที่ 4 นาแคมั่นคง (โซนโรงเรียนบ้านนาแคถึงท่าเรือ)
  4. แกนนำในการดำเนินโครงการ ร่วมกันค้นหา คัดกรองในชุมชน แบบระบุตัวตนของผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
  5. แกนนำในการดำเนินโครงการ ลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเสี่ยงในชุมชน มีการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ทุก ๆ  15 วัน ตามเขตพื้นที่ และบำบัดกลุ่มเสี่ยงด้วยการโน้มน้าวจิตใจ ศาสนาบำบัด กีฬาบำบัด พื้นที่ละ  4 เขต ๆ ละ 4 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ชุมชนมีมาตรการในการป้องกัน แก้ไขและค้นหาผู้เสพสารเสพติด ผลลัพธ์     ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาป้องกันไม่ ให้เกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ และลดการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8160.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้ที่ผู้ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้ที่ผู้ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางให้ที่ผู้ผ่านการบำบัดและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อป้องกันการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ
  2. กิจกรรมบำบัดกลุ่มเสพสารเสพติด โดยการใช้ศาสนาบำบัด
  3. ประชุมแกนนำในการดำเนินโครงการสรุปผลการดำเนินงานและปัญหาที่พบ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน
    4.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคลองขุด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ชุมชนมีมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และบำบัดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2.อัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชนลดลงเหลือร้อยละ 50 ผลลัพธ์     ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ และลดการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,190.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเข้าใจและรับรู้ปัญหาพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาป้องกันไม่
ให้เกิดผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ และลดการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัด ทำให้ผู้ผ่านการบำบัดมีพลังในการดำเนินชีวิต และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข เพื่อนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง


>