กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ (LQ) เทศบาลตำบลบางปู ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

นางแวลีเมาะ กามา
นางสาวมาเรียม สะนิ
นางสาวสารีฟ๊ะ สามะ
นางซัลวานีเจะมะ
นางสาวเจะรุสนะห์ เจะหลง

ณ ศูนย์ชีวิตใหม่ ตำบลปิยามุมัง ,ตำบลหนองแรต ,ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กร หรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และตามข้อ 10 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้ (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับสถานการณ์การเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ในพื้นที่
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 ข้อ10/1 กำหนดว่า “เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ และคณะกรรมการกองทุนไม่อาจอนุมัติค่าใช้จ่ายตามข้อ 10 ได้ทันต่อสถานการณ์ ให้ประธานกรรมการตามข้อ 12 มีอำนาจอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อได้ตามความจำเป็น ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อโครงการ โดยให้ถือว่าเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติตามประกาศนี้ด้วย แล้วรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ” อีกทั้ง ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสาม ช่วงเดือนเมษายนจวบจนถึงปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและขยายในวงกว้าง ส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากกว่าวันละ 100 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงในระดับน้อยถึงมาก โรงพยาบาลคงต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด ทางจังหวัดปัตตานีได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่หรือ
Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเพื่อรองรับผู้ที่จะถูกกักตัวที่เดินทางมาจากจังหวัดอื่นตามที่สาธารณสุขกำหนด ขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของกลุ่ม อสม.ประจำตำบลบางปู ในฐานะที่เป็นหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด (ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ) เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลผู้ที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทย ซึ่งต้องถูกกักตัวเองในสถานที่ที่หน่วยงานกลางกำหนด (สำหรับของอำเภอยะหริ่ง ได้กำหนดสถานที่กลางในการกักตัวผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลเซีย คือ ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ตำบลปิยามุมัง ตามมติที่ประชุมอำเภอยะหริ่งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564) จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ตำบลบางปูขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงทีต่อไปหากเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติขึ้นจริงในพื้นที่ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรคและระงับยับยั้งการระบาดของโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ อำเภอยะหริ่ง

ร้อยละ80ของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

0.00
2 เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน

ร้อยละ80ของบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านได้รับการคัดกรอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง (ค่าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่ถูกกักตัว)  เป็นระยะเวลา 14 วัน
                                    เป็นเงิน  42,000 บาท
  2. ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของบุคคลเสี่ยง
                                    เป็นเงิน  53,000 บาท
  3. ค่าแคร่ไม้ไผ่  10  อัน                            เป็นเงิน    4,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   99,500  บาท (เงินเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวจ่ายได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19     2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 99,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการกักตัว 100%


>