กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์ระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด 19 ระดับพื้นที่ (LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดาลอ หมู่ที่ 3 ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 2. โรงเรียนตาดีกานัดวาตุลอิสลามมีย๊ะ หมู่ที่ 3 ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 3.ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด19

 

1,000.00

สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกเดือนเมษายน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 มากกว่า 1000 คนต่อวัน โดยอาการป่วยของผู้ติดเชื้อมีระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน แต่เนื่องจากการรักษาพยาบาลคนไข้ในโรงพยาบาลมีขีดจำกัด ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจป่วยด้วยโควิด 19 ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine : LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน ศูนย์ LOCAL QUARUNTEEN

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

100.00 1.00
2 เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางออกจากนอกพื้นที่ จังหวัดที่ประกาศเป็นจังหวัดเสี่ยง และประเทศเพื่อนบ้าน

ร้อยละของบุคคลที่เดินทางออกนอกพื้นที่ ผุ้เดินทางกลับมาจากจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงและประเทศเพื่อนบ้าน

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการกักตัวของผู้ที่เข้ารับการกักตัว (LQ) จำนวน 14 ชุด ชุดละ 1,850 บาท เป็นเงิน 25,900 บาท
  2. ค่าอาหารสำหรับผู้ที่เข้ารับการกักตัว (LQ) จำนวน 14 คน คนละ 14 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 29,400 บาท
  3. ค่าอาหารสำหรับผู้ที่เข้ารับการกักตัว (HQ) จำนวน 12 คน คนละ 14 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 25,200 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลศูนย์กักตัว ขนาด1.2 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน ผืนละ 720 บาท
  5. ค่าอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ จำนวน 10 ตัว ตัวละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  6. ค่าแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือ จำนวน 5 ขวด ขวดละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  7. ค่าชุด PPE จำนวน 10 ชุด ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  8. ค่าถุงขยะดำ จำนวน 3 ห่อ ห่อละ 70 บาท เป็นเงิน 210 บาท
  9. ค่าถุงขยะแดง จำนวน 3 ห่อ ห่อละ 90 บาท เป็นเงิน 270 บาท
  10. ค่าเชือกกั้น LQ จำนวน 4 ม้วน ม้วนละ 520 บาท เป็นเงิน 2,080 บาท
  11. ค่าสแลกกั้น LQจำนวน 1 ม้วน ม้วนละ 1,900 บาท
  12. ค่าแคร่ไม้ไผ่ ขนาดกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร จำนวน 2 ตัว ตัวละ 350 บาท เป็นเงิน 700 บาท
    รวมเป็นเงิน 94,380 บาท (เก้าหมื่นสี่พันสามร้อยแปดสิบบาทถ้วน) หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิท 19
  2. บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงและประเทศเพื่อนบ้าน เข้ากักตัวเพื่อสังเกตุอาการครบคิดเป็น 100 % 3.สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อโควิท 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
94380.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 94,380.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิท 19
2. บุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงและประเทศเพื่อนบ้าน เข้ากักตัวเพื่อสังเกตุอาการครบคิดเป็น 100 %
3.สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อโควิท 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>