กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25 ) ประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด- 19)ที 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งจังหวัดยะลากำหนดระดับของพื้นที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด นั้น
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ) ในพื้นที่จังหวัดยะลา พบผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ. ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดมาตรการที่เข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ และเป็นการป้องกันและยับยั้งการระบาดของโรค มิให้มีการแพร่ระบาดออกไปในวงกว้างและกระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
จากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึง 1 กรกฎาคม 2564ผู้ป่วยรายใหม่ 5,880 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 242,058 ราย เสียชีวิต 61 ราย ในจังหวัดยะลา มีผู้ป่วยสะสม 1,989 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 13 รายในเขตเทศบาลนครยะลาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 30 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 138 ราย พื้นที่พบมากที่สุดคือพื้นที่ตลาดเก่าจำนวน 96 ราย รองลงคือพื้นที่บ้านสะเตง จำนวน 18 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และสืบเนื่องจากได้เพิ่มการตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ตลาดเก่า จำนวน 12 ชุมชน เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วน จึงทำให้อุปกรณ์ ไม่เพียงพอในการตรวจคัดกรอง มีความจำเป็นที่จัดซื้ออย่างเร่งด่วน อาศัยตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2496 มาตราที่ 50 ข้อที่ 4 (ป้องกันและระงับโรคติดต่อ) ในการคัดกรองตรวจเชื้อแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดยะลา ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 10 จังหวัด เช่น กรุงเทพ นครปฐม นนทบุรี นราธิวาสสมุทรสาคร ปทุมธานี ยะลา ปัตตานี สงขลา ปทุมธานี และบุคคลที่สัมผัสกับคนติดเชื้อหรือคนที่มีอาการ ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ครอบครัว ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง เป็นการตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ในเขตเทศบาลนครยะลาต่อไป
ดังนั้น กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำ โครงการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test)ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่มาจากพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด และบุคคลที่สัมผัสกับคนติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) หรือมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอได้รับการคัดกรองตรวจเชื้อ
  1. ร้อยละ 80 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดย Antigen (Rapid Test)
  2. ร้อยละ 90 ประชาชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย Antigen (Rapid Test) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง มาจากพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด บุคคลที่สัมผัสกับคนติดเชื้อ หรือมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย Antigen (Rapid Test) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง มาจากพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด บุคคลที่สัมผัสกับคนติดเชื้อ หรือมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2991000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 2,991,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงหรือมาจากพื้นที่ควบคุม ได้รับตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย Antigen (Rapid Test) และประชาชนที่สัมผัสกับคนติดเชื้อ หรือมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
2. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในเขตเทศบาลนครยะลา


>