กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19ระดับพื้นที่(LQ) องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง

สำนักปลัด

ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด 19 จำนวนมากกว่าวันละ 1000 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้นและมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด
โดยในปัจจุบันนี้ทางจังหวัดพัทลุงได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine :LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงสูง (สีแดงเข้ม) และรองรับกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในชุมชน เพื่อลดภาระการส่งตัวผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ (กลุ่มสีเขียว) เข้าไปในระบบการรักษาของโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มพื้นที่ของโรงพยาบาลไว้รองรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักได้มากขึ้น
ในส่วนของพื้นที่อำเภอควนขนุน ขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 168 คน และรับผู้ป่วยจากพื้นที่ กทม. กลับมารักษาตัวที่บ้านอีก 18 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2564)และมีแนวโน้มจะมีกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงเพิ่มมากขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลชะมวงจึงเห็นว่าการจัดตั้งกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่(LQ) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคสามารถแยกผู้ติดเชื้อออกจากคนในชุมชน และลดภาระการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลควนขนุน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ

ร้อยละของบุคคลที่มีความเสี่ยงได้รับการกักตัว

100.00
2 เพื่อคัดกรองบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้าน

ร้อยละของบุคคลที่เดินทางจากนอกพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านคัดกรอง

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/07/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองและเฝ้าระวังบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสาน อสม.ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และคัดกรองบุคคลที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งระบบกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้โรงแรมปาล์มบิลเลี่ยน รีสอร์ทเพื่อการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าเช่าที่พักเพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่สงสัยเดินทางจากพื้นที่มีความเสี่ยง จำนวน 39 วันๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 15600 บาท
2. ค่าเบี้ยเลี้ยง จนท.ที่มาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการจำนวน 39 คน วันละ 1 ผลัด ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 4680 บาท
3. ค่าเบี้ยเลี้ยง อปพร.ที่มาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการจำนวน 39 วันๆละ 3 ผลัด ๆ ละ 120 บาท เป็นเงิน 14040 บาท
4. ค่าชุด PPE สำหรับเจ้าหน้าที่ สธ. จำนวน2ชุด ๆ ละ 250 เป็นเงิน 500 บาท
5. ค่าชุดกาวน์กันน้ำ (CPE Gown) จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5000 บาท
6. ค่าปรอทดิจิตอลวัดอุณหภูมิ จำนวน 5 อัน X 250 บาท เป็นเงิน 1250 บาท
7. ค่าอาหารสำหรับผู้สังเกตอาการ จำนวน 5 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 39 วัน เป็นเงิน 29250 บาท
8. ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 1250 บาท
9. ค่าเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ขนาด 450 cc. จำนวน 24 ขวดๆ ละ 120 บาทเป็นเงิน 2880 บาท
10. ค่าถุงมือยางส้มกันน้ำจำนวน 3 คู่ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 90 บาท
11. ค่าน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทำความสะอาด ขนาด 3.8 ลิตร จำนวน 5 แกลอนๆ 300 บาทเป็นเงิน 1500 บาท
12. ค่าแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 75% ขนาด 5 ลิตร จำนวน 5 แกลอนๆ ละ 650 บาท เป็นเงิน 3250 บาท
14. ค่าถุงขยะสีแดง (แยกประเภทขยะติดเชื้อ) จำนวน 1 กิโลกรัมเป็นเงิน 100 บาท
15. ค่าน้ำดื่มสะอาด ชนิดขวด ขนาด 0.6 ลิตร จำนวน 50 โหล ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
16. ค่าป้ายไวนิลขนาด 80 x 150 cm เป็นเงิน 180 บาท
17. ค่าถังสำหรับพ่นยาฆ่าเชื้อพร้อมหัวฉีดจำนวน1 ถัง เป็นเงิน 900 บาท
18. ค่าหมวกคลุมผมทางการแพทย์ จำนวน 1 แพค ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 150 บาท
19. ค่ารองเท้าบูท จำนวน 2 คู่ ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
20. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
  2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
84620.00

กิจกรรมที่ 3 แยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine)

ชื่อกิจกรรม
แยกสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสาน รพ.สต.ในเขตพื้นที่ ให้คนที่มีอาการไม่มากหรือต้องดูแลใกล้ชิด กักตัวแบบอยู่บ้าน
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คนที่ต้องสงสัยติดเชื้อโควิดหรือเฝ้าระวัง ได้รับการกักตัว 100%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดระบบการกักตัวผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ได้รับการกักตัว 100 %


>