กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรกระชายขาวรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรกระชายขาวรักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่การระบาด เทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)ในประเทศไทยพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลาของเรายังคงมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 มีจำนวน 5,352 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 164 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมากที่สุดจำนวน 2,184 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 72 ราย ที่สำคัญคือ เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 650 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 31 ราย และผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย ดังนั้น ประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว ทุกชุมชน ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมามาตรการสำคัญของการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) คือ การเว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ และปฏิบัติตามมาตราการของจังหวัดยะลาอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการให้ประชาชนตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงให้ได้รับการฉีดวัคซีน และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่เขตเทศบาลที่ยังคงมีความรุนแรง อีกหนึ่งมาตรการที่สำคัญคือ การให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง และได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจะเกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยเฉพาะที่สำคัญคือ การแพร่กระจายเชื้อลงสู่ปอดอย่างรุนแรง ทำให้การรักษายาวนานขึ้น จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
วารสารกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 ประจำเดือน กรกฎาคม 2563 ได้เสนอบทความกระชายกับศักยภาพการพัฒนาเป็นยาต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่มีผลการศึกษาวิจัยที่พบว่า สารสกัดจากกระชาย นอกจากมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองแล้ว ยังพบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราอีกด้วย และที่สำคัญเมื่อวันที่1 มิถุนายน 2563 มีรายงานการศึกษาวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับความก้าวหน้าของการค้นหายาต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสารสกัดธรรมชาติและสมุนไพรที่เป็นอาหารของคนไทย จำนวน 121 ตัวอย่าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีสารสกัดจำนวน 6 ชนิด ที่มีศักยภาพยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีปริมาณความเข้มข้นของยาระดับน้อยๆ และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ โดยการศึกษาดังกล่าว พบสารสกัดจากสมุนไพร 2 ชนิด ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ถึง 100% คือ สารากัดจากขิง และกระชายขาว ซึ่งเมื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่าสาระสำคัญจากกระชายขาวมีฤทธิ์แรงที่สุด โดยให้ฤทธิ์แรงกว่าสารสกัดบริสุทธิ์ฟ้าทะลายโจร 30 เท่า และแรงกว่าสารสกัดขิง 10 เท่า ซึ่งถือว่าดีที่สุดในบรรดาสารที่นำมาทดสอบทั้งหมด โดยสารสำคัญ 2 ชนิดหลักในกระชายขาวที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ แพนดูเรทินเอ (panduratin A) และพินอสตรอบิน (pinostrobin) ทั้งนี้ ตามตำรายาไทย ใช้เหง้ากระชายช่วยขับลม ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดมวนท้อง รักษาโรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ช่วยขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด การแพทย์พื้นบ้านใช้บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้านเป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาว

ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อโควิด–19 ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาว

0.00
2 ข้อที่ 2 ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาว

ข้อที่ 2 ร้อยละ 80 ของผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มเสี่ยงที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะติดเชื้อ ได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาว

0.00
3 ข้อที่ 3 ผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาวมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

ข้อที่ 3 ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการักษาด้วยสมุนไพรกระชายขาวมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการสาธารณสุขจากโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1
กลุ่มวัยทำงาน 1
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/07/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงเครือข่ายสุขภาพชุมชน และเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา จำนวน 20 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อและการกระจายยาสมุนไพรกระชายขาวสู่ผู้ติดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การจัดซื้อและการกระจายยาสมุนไพรกระชายขาวสู่ผู้ติดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
98000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์การใช้สมุนไพรกระชายขาวรักษาติดเชื้อโควิด-19

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์การใช้สมุนไพรกระชายขาวรักษาติดเชื้อโควิด-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 การเคาะประตูบ้าน แนะนำการดูแลรักษา และการติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้ และประยุกต์ใช้สมุนไพรกระชายขาวในครัวเรือนสำหรับการรักษาติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง
2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในสภาวะสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างคลอบคลุม
3. ลดการแพร่ระบาด ลดการเกิดความรุนแรงของโรค และลดการสูญเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19


>