กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปลักหนู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและเฝ้าระวังสารปนเปื้อน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปลักหนู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู

นาย คมสันติ์ปิ่นแก้ว

ตำบลปลักหนู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

20.00

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาจำหน่าย ประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และสามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู จึงได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารที่ประชาชนได้บริโภค ทั้งในการผลิตและเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ในการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของตนเอง และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัย ต่อผู้บริโภคเพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมอาหารปลอดภัยของประเทศที่ยั่งยืนต่อไป และประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลปลักหนูประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงควรเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกรโดยการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

20.00 18.00

วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านอาหารปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ตำบลปลักหนู
ข้อที่ 2 เพื่อเฝ้าระวังตรวจสอบร้านค้าขายของชำ ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับมาตรฐาน
ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพจากการประกอบอาชีพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5,028
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย
2. ร้านค้าขายของชำ ร้าน/แผงลอยจำหน่ายอาหารได้รับการตรวจร้านให้ได้มาตรฐาน
3. ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย


>