กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน(LocalQuaratine)ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา)รุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน(LocalQuaratine)ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา)รุ่นที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา

ศูนย์สถาที่กักกัน(LocalQuaratine)ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตลอดจนประเทศไทยมีการแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 189,268 ราย (ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 20 มิถุนายน 2564) โดยเฉพาะการระบาดระลอกใหม่ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ และกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 13 กำหนดว่า เมื่อเกิดโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคดังกล่าว ในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการหรือสนับสนุนให้มีการป้องกันและควบคุมการแพร่ และการระงับการระบาดของโรคนั้น หรือสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 หมวด 5 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (ข้อ14) และ (ข้อ15) ประกอบกับประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ข้อ 10/1 เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่อ และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 1552 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางในการควบคุม เพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการจัดสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตการเริ่มป่วย (Quarantine) ของกรณีผู้เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง และหนังสืออำเภอทุ่งยางแดงที่ ปน 1018/1145 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การจัดเตรียมสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ประจำตำบล ให้มีความพร้อมและสามารถรองรับผู้เข้ากักกันที่เป็นคนในพื้นที่ได้ทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ และผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งให้จัดเตรียมสถานที่กักกันเพิ่มเติม เพื่อให้พร้อมรับสถานการณ์ตลอดเวลา จากข้อมูลสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ในจังหวัดปัตตานี มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,446 ราย กระจายไปยังอำเภอต่างๆ รวมถึงในตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดงมีผู้ป่วย
-2-
ยืนยันสะสม 3 ราย (ศูนย์กักตัวหอประชุมอำเภอทุ่งยางแดง) ส่งผลให้ตำบลตะโละแมะนา มีความเสี่ยงสูงต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนั้น กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนาจึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์สถานที่กักกัน (Local Quarantine) ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น รุ่นที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 พร้อมปรับปรุงสถานที่ให้มีความเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการจัดเตรียมหาอาหารสำหรับผู้กักกันไว้ให้พร้อม เพื่อเร่งดำเนินการป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายโรคการสร้างสุขนิสัยส่วนบุคคล การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และการคัดกรองภาวะเสี่ยง แก่ประชาชนในพื้นที่
เพื่อช่วยลดผลกระทบในด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อจัดบริการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงใน LQ
2. เพื่อให้ผู้ถูกกักตัวได้รับอาหารครบสามมื้อต่อวัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเป็นค่าอาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ3มื้อๆละ50บาท เป็นเวลา14วันต่อ1 ราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อคักกรองผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19 )
หากในระยะเวลา14วันหากพบอาการ ทางศูนย์กักตัว ส่งโรงพยาบาลสนามต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65850.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเป็นค่าอาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ3มื้อๆละ50บาท เป็นเวลา14วันต่อ1 ราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อคักกรองผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19 )
หากในระยะเวลา14วันหากพบอาการ ทางศูนย์กักตัว ส่งโรงพยาบาลสนามต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 3 จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ 3 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเวลา 14 วัน ต่อ 1 ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเป็นค่าอาหารสำหรับผู้กักตัว วันละ  3  มื้อๆละ  50  บาท เป็นเวลา  14  วันต่อ  1 ราย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อคักกรองผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19 )
หากในระยะเวลา  14  วันหากพบอาการ ทางศูนย์กักตัว ส่งโรงพยาบาลสนามต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถจัดหาอาหารให้กับผู้ที่อยู่ในศูนย์กักตัว(LocalQuaratine)ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา)


>