กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 5)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)ในประเทศไทยพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลาของเรายังคงมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสะสม เพิ่มสูงขึ้น ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 31 กรกฎาคม 2564มีจำนวน 568,424 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 18,912 ราย เสียชีวิตสะสม 4,763 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมากที่สุดจำนวน 2,780 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 64 ราย ที่สำคัญคือ เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 749 ราย และผู้เสียชีวิต จำนวน 10 ราย ดังนั้น ประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว ทุกชุมชน ต้องร่วมมือกันอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมามาตรการสำคัญของการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) คือ การเว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดยะลาอย่างเคร่งครัด และในขณะนี้ประชาชน จึงควรลดความเสี่ยงโดยการงดกิจกรรมการรวมตัวของผู้คน หลีกเลี่ยงการไปในบริเวณที่คนหนาแน่น ทำงานจากบ้าน (work from home) เน้นย้ำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในพื้นที่เสี่ยงที่ยังต้องมีการรวมตัวของผู้คน จากแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับแนวโน้มที่โรงพยาบาลสนามอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงมีแนวทางการพิจารณาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เหมาะสมสำหรับการแยกตัวที่บ้าน (home isolation) และติดตามประเมินอาการทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ หากกรณีมีผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่มจำนวนมากขึ้น
จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลาได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยใช้ที่พักอาศัยเป็นสถานที่แยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา เพื่อรองรับกรณีมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เปลี่ยนแนวทางจากการรักษาในโรงพยาบาล มาเป็นการกักตัวที่บ้านแทน และแกนนำสุขภาพสามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีเมื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล เพื่อลดการสูญเสียชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตาม ประเมินอาการ ผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) ระหว่างการแยกตัวที่บ้าน ผ่านระบบสื่อสารต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการ และจัดระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ได้รับการติดตาม ประเมินอาการที่บ้าน
0.00
2 2. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  1. ร้อยละ 90 ประชาชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแลผ่านเกณฑ์มาตรฐสาน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 84
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) แก่แกนนำสุขภาพ แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 4 รุ่นๆ ละ 1 วัน รวม 4 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) แก่แกนนำสุขภาพ แกนนำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 4 รุ่นๆ ละ 1 วัน รวม 4 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37223.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,223.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ได้รับการติดตาม ประเมินอาการ ระหว่างการแยกตัวที่บ้านผ่านระบบสื่อสารต่างๆ อาทิ โทรศัพท์ติดตามอาการ และจัดระบบรับ-ส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ในกรณีผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องย้ายเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล ได้อย่างถูกต้อง
2. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในเขตเทศบาลนครยะลา


>