กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านลากอ

1นางตอยยีบะห์ ลำเดาะ
2ยางกามารีเยาะเปาะเซ็ง
3นางอานีซ๊ะบูงอเคะบอง
4 นางฮามีด๊ะ ลือแบลูวง
5 นางอามีเนาะทากือแน

ในพื้นที่ตำบลยะหา หมู่1-หมู่9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวง สาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2564 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 834,326 ราย เสียชีวิต 7,032 ราย ส่วนอำเภอยะหาพบผู้ป่วย 902 ราย เสียชีวิต 6 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอยะหา 15 สิงหาคม2564) ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการ ดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลยะหาชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมี การมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลด ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ของอบต.ยะหา

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้

90.00 1.00
2 2. เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและ ควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1. ประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
70.00 1.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าร้อยละ 70

การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

70.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ในการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์รณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ในการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์รณรงค์ ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ในการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นเงิน 63,600 บาท (...เงินหกหมื่นสามพันหกร้อยบาทถ้วน...)เพื่อ ใช้ในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่
1.1 หน้ากากอนามัย จำนวน 500 กล่อง x70บาท เป็นเงิน 35,000 บาท
1.2เจลล้างมือแอลกอฮอล์ จำนว 500ขวด x 50บาท เป็นเงิน 25,000บาท
1.3 สื่อประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำนวน3,600บาท - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์จำนวน 2 ผืน x 800 บาท เป็นเงิน 1600บาท -เอกสารให้ความรู้จำนวน 1000 แผ่น x 2 บาท เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วิธีดำเนินงาน
1. ขั้นตอนวางแผนงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ยะหา 3.ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ดำเนินการ ผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ
2.รณรงค์ให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4.การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
5.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
6.สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโ
2. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเรคติดต่อได้
3. ประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
4.ประชาชนในพื้นที่อบต.ยะหา ได้วัคซีนโควิด 19 มากกว่าร้อยละ70ป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>