กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) แก่ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เขตเทศบาลนครยะลา ที่กักตัวที่บ้านหรือศูนย์พักคอย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสนับสนุนเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) แก่ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เขตเทศบาลนครยะลา ที่กักตัวที่บ้านหรือศูนย์พักคอย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

งานรักษาพยาบาล กลุ่มงานบริการทางการแพทย์สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในประเทศไทยพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดยะลาของเรายังคงมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อสะสม เพิ่มสูงขึ้น ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 พบว่า ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 31 กรกฎาคม 2564มีจำนวน 568,424 ราย และผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 18,912 ราย เสียชีวิตสะสม 4,763 ราย ทั้งนี้ พื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมมากที่สุดจำนวน 2,780 ราย และผู้ป่วยรายใหม่ 64 ราย ที่สำคัญคือ เขตเทศบาลนครยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวน 749 ราย และผู้เสียชีวิต จำนวน 10 ราย
ระบบการตรวจยืนยันติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ตรวจหา SARS-CoV-2ประชาชนผู้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) หรือสงสัยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)เมื่อทำการ Swab ตรวจหาเชื้อ SARS-CoV-2 แล้ว จะต้องได้รับการตรวจยืนยันผลจากโรงพยาบาลยะลาระหว่างรอผลการตรวจยืนยันต้องกักตัวอยู่บ้านหรือศูนย์พักคอยโรงเรียนเทศบาล 5 เทศบาลนครยะลาเมื่อรับแจ้งผลยืนยันแล้วพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)โรงพยาบาลยะลาจะรับมาตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อยังโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลยะลา ซึ่งใช้ระยะเวลา 2-3 วัน หรือมากว่านั้นเนื่องจากโรงพยาบาลสนามไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วย ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องกักตัวอยู่ที่บ้านหรือศูนย์พักคอยโรงเรียนเทศบาล 5 เทศบาลนครยะลา อาจมีอาการทีเปลี่ยนแปลงเลวลงได้ ซึ่ง COVID - 19 เป็นโรคติดเชื้อที่ปอดเป็นหลัก เมื่อปอดถูกทำลายแน่นอนว่าการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนคงเป็นไปอย่างยากลำบาก สิ่งที่ตามมาคือออกซิเจนในเลือดต่ำ เกิดภาวะ Hypoxemia และ Hypoxia ตามมาว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวนไม่น้อย ที่ไม่ได้แสดงอาการตั้งแต่แรกเริ่ม แม้เริ่มเกิดภาวะ Hypoxia แล้ว ก็ยังไม่แสดงความผิดปกติใดๆ ออกมา ในทางการแพทย์เราเรียกภาวะนี้ว่า Happy Hypoxia หรือ Silent Hypoxia หมายถึงผู้ป่วยที่มีภาวะ Hypoxia แต่ไม่แสดงอาการของการขาดออกซิเจนถือว่าน่าเป็นห่วง และมีผู้ป่วยหลายรายที่มักไม่แสดงอาการในช่วงแรกๆ จนกระทั่งร่างกายทรุดหนัก ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนได้ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพราะฉะนั้นหากสามารถตรวจพบภาวะ Hypoxia ได้ก่อนน่าจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยมากกว่า อย่างน้อยจะได้ไปพบแพทย์รักษาอาการได้รวดเร็วขึ้น และรับยาต้านไวรัสเพื่อช่วยลดอาการที่รุนแรงได้ องค์การอนามัยโลกให้คำแนะนำว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019COVID-19 บางรายที่ตรวจพบเชื้อเป็นบวกแต่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย อาจถูกคัดแยกให้กักตัวอยู่ภายในที่พักอาศัยของตนเอง และรักษาตัวตามอาการจนกว่าจะหาย ซึ่งในขณะที่กักตัวอยู่บ้านจะต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หนึ่งในอุปกรณ์ที่นำมาใช้คือ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter จะช่วยการเฝ้าระวังตรวจหาภาวะ Happy Hypoxia ในผู้ป่วย
งานรักษาพยาบาล กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) แก่ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เขตเทศบาลนครยะลาที่กักตัวที่บ้านหรือศูนย์พักคอยขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter สามารถประเมินอาการตัวเองที่บ้านได้ก่อนมีอาการรุนแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 มอบเครื่องวัดออกซิเจน ปลายนิ้ว Pulse Oximeter และติดตามอาการและประสิทธิภาพเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 มอบเครื่องวัดออกซิเจน ปลายนิ้ว Pulse Oximeter และติดตามอาการและประสิทธิภาพเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในเขตเทศบาลนครยะลา ระหว่างการแยกกักตัวที่บ้านหรือศูนย์ พักคอยที่ได้รับเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว Pulse Oximeter และคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถประเมินอาการตนเอง เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia) (ค่า SpO2 ต่ำกว่า 95 %) สามารถลดการเสียชีวิตได้


>