กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งระบบกักตัวผู้ต้องสงสัยโควิด-19 ระดับพื้นที่ LQ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะรัง

นายอิมรอนหะยีสามะ
นายไบตุลมาลย์ อาแด
นายมะอูเซ็งสาแล

ตำบลยะรังอำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด 19 ระลอกใหม่ช่วงเดือนเมษายน จวบจนปัจจุบัน มีอัตราการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและในวงกว้างส่งผลให้ประชาชนติดเชื้อโควิด - 19 จำนวนมากกว่าวันละ 100 คน ทำให้การจะรับรักษาพยาบาลคนไข้เหล่านี้ในโรงพยาบาลคงไม่สามารถทำได้ ตลอดจนอาการป่วยโควิดก็มีระดับความรุนแรงน้อยและมาก โรงพยาบาลต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาการหนักเท่านั้น และมีความจำเป็น นอกจากนี้สถานการณ์ของบุคคลที่ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน มีแนวโน้มว่าจะต้องถูกผลักดันให้กลับประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้หลายคนอาจป่วยด้วยโควิดสายพันธุ์ แอฟริกา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างดื้อวัคซีนที่กำลังจะฉีด
ทางจังหวัดได้มีการประสานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานกักตัวแบบพื้นที่ หรือ Local Quarantine :LQ เพื่อใช้ในการกักตัวบุคคลที่มีความเสี่ยงและเดินทางจากประเทศเพื่อนบ้านขึ้น
ในการนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง ได้จัดตั้งศูนย์แยกกัก หรือกักกันสำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ระดับพื้นที่ LQ อบต.ยะรัง ปี 2564 ณ โรงเรียนชุมชนบ้านพงสตา ในการจัดตั้งศูนย์แยกกัก หรือกักกันสำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) จำนวนมากในพื้นที่เขตตำบลยะรัง และมีผู้ที่เข้าข่ายเสี่ยงสูง จากการสัมผัสผู้ป่วย ในเขตพื้นที่ตำบลยะรัง สูงขึ้นเรื่อยๆ มาโดยตลอด ส่งผลให้วัสดุ อุปกรณ์ใน ศูนย์แยกกัก หรือกักกันสำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุผลอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ระดับพื้นที่ LQ อบต.ยะรัง ไม่เพียงพอ สำหรับบริการประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลยะรัง จึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ และให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในศูนย์แยกกักดังกล่าว ได้มีวัสดุ อุปกรณ์ ป้องกันตนเองอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ สำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์แยกกัก

 

0.00
2 เพื่อใช้บริการประชาชนในพื้ืนที่ตำบลยะรัง ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)

 

0.00
3 เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในวงกว้าง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/08/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในจัดการศูนย์กักกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อบต.ยะรัง ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในจัดการศูนย์กักกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อบต.ยะรัง ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ของใช้ส่วนตัว จำนวน ๖๐ ชุด ๆ ละ ๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ๒. ผ้าห่ม จำนวน ๖๐ ชุดๆ ละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท ๓. หมอน จำนวน ๖๐ ชุดๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท ๔. น้ำยาฆ่าเชื้อ จำนวน ๑๐๐ ขวด ๆ ละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท ๕. ไม้ถูพื้น จำนวน ๑๐ ชุด ๆ ละ ๔๙๐ บาท เป็นเงิน ๔,๙๐๐ บาท ๖. ไม้กวาด จำนวน ๑๐ ด้าม ๆ ละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน ๑,๕๐๐ บาท ๗. ถุงมือ จำนวน ๒๐ กล่อง ๆ ละ ๒๕๐ บาท เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท ๘. ถุงดำ จำนวน ๕๐ แพคๆ ละ ๗๙ บาท เป็นเงิน ๓,๙๕๐ บาท ๙. แมส Surgical จำนวน ๑๐๐ กล่อง ๆ ละ ๑๒๙ บาท เป็นเงิน ๑๒,๙๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๐,๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการบริการ และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ลดการแพร่ระบาดในวงกว้าง และได้รับความพึงพอใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
80750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ในวงกว้าง และ สามารถคืนประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลับสู่สังคมอย่างปลอดภัย


>