กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

รพ.สต.บ้านนาปะขอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้าน สะดวกในการซื้อสินค้า และเป็นร้านที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่และแอลกอฮอล์ ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านนาปะขอ มีพื้นที่รับผิดชอบ ๕ หมู่บ้าน มีสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกชื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย
จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน นาปะขอ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการ การใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

0.00
2 เพื่อให้ มีเครือข่าย อสม.ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพสุขภาพ และเครือข่าย อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน

มีเครือข่าย อสม. ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพและเครือข่าย อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ

ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

0.00
4 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ

ร้านชำมีการจำหน่ายอาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 34
กลุ่มวัยทำงาน 97
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/09/2021

กำหนดเสร็จ 10/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม.จำนวน ๖๗ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม.จำนวน ๖๗ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอบรมและวิทยากรและผู้จัดการอบรม  จำนวน ๗๒คนx๑ มื้อx ๖๐บ.=4,320บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอบรมและวิทยากรและผู้จัดการอบรม  จำนวน ๗๒คนx๒ มื้อx๒๕ บ.=3,600บ. -ค่าสมนาคุณวิทยากรในอบรมเครือข่ายสุขภาพ แกนนำ อสม.จำนวน ๖ ชั่วโมงx๖๐๐บ.=๓,๖๐๐ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2564 ถึง 8 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11520.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ จำนวน ๓๐ ร้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ จำนวน ๓๐ ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอบรมและวิทยากรและผู้จัดการอบรม จำนวน ๓๖คนx๑ มื้อx๒๕ บ.=๙๐0บ. -ค่าสมนาคุณวิทยากรในอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ จำนวน ๓ ชั่วโมงx๖๐๐บ.=๑,๘๐๐ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2564 ถึง 9 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน ๓๔ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ อย.น้อยในโรงเรียน จำนวน ๓๔ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าร่วมอบรมและวิทยากรและผู้จัดการอบรม จำนวน ๔๐คนx๑ มื้อx๒๕ บ.=๑,๐๐๐บ. -ค่าสมนาคุณวิทยากรในอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ จำนวน ๓ ชั่วโมงx๖๐๐บ.=๑,๘๐๐ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 4 4. ค่าวัสดุอื่นๆ

ชื่อกิจกรรม
4. ค่าวัสดุอื่นๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุในการจัดอบรม
-ปากกาลูกลื่น จำนวน ๑๓๐ ด้ามx๕บ.=๖๕๐ บ. -สมุดจดบันทึก จำนวน ๑๓๐ เล่มx๕บ.=๖๕๐ บ. -ปากกาเคมี จำนวน ๑๐ ด้าม x๑๕บ.=๑๕๐ บ. -กระดาษ A๔ จำนวน ๑ รีม x๑๒๕บ.=๑๒๕ บ. -กระดาษกรู๊ป จำนวน ๙ แผ่น x๕บ.=๔๕ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1620.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
2. ผู้ประกอบการร้านขายของชำสามารถเลือกซื้ออาหาร ยา เครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการ สุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค
๓. มี เครือข่าย อสม.ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพสุขภาพ ในชุมชน
4. มี เครือข่าย อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน


>