กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยง ลดพุง ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาปะขอ

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

รพ.สต.บ้านเกาะเคียน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญในร่างกายอุดตัน หรืออาจถึงขั้นเส้นเลือดแตกโดยเฉพาะหากเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติพบว่าในทุกๆ ๒ นาทีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ ๑ คนองค์การอนามัยโลก ได้ทำนายไว้ว่าใน ปี ๒๕๗๓ ประชากรโลกจำนวน ๒๓ ล้านคน จะเสียชีวิตจากโรคหลอดสมอง และหัวใจร้อยละ๘๕อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ในแต่ละปี ๑๕๐,๐๐๐ รายในปัจจุบันนี้ ต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนอ้วน เพราะอุปนิสัยการกินอยู่ที่เปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงในการใช้ชีวิตประจำวัน กินอาหารที่มีไขมันเพิ่มขึ้น ซึ่งไขมันที่สะสมอยู่ที่พุงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
จากผลการตรวจคัดกรองสุขภาพของจากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียน จำนวน ๗๔๒ ราย พบว่าเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ๓๐๒ ราย ร้อยละ๔๐.๑ เสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน๒๕๐ ราย ร้อยละ ๑๓๓.๒ พบเสี่ยงโรคอ้วน ในกลุ่มเลี่ยงเบาหวาน ๗๒ ราย ร้อยละ๒๘.๘และจากสถิติผู้ป่วย ส่วนใหญ่พบป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒ ๗๕รายควบคุมความดันโลหิตได้ดี ๑๐๙ ราย ร้อยละ ๓๙.๖ โรคเบาหวานเป็นจำนวน ๑๐๑ รายควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
๒๘. รายร้อยละ ๒๗.๗พบว่ากลุ่มป่วยผลการคัดกรอง (CVD Risk) เสี่ยงงปานกลาง (๑๐≥๒๐ %) จำนวน ๓๓ราย
เสี่ยงสูง (๒๐ < ๓๐ %)จำนวน ๒๐รายเสี่ยงสูงมาก (๓๐-๔๐ %) จำนวน ๒๑ ราย และเสี่ยงสูงอันตราย(≥๔๐ %)
จำนวน ๓๓ ราย ซึ่งเป็นโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนจึงต้องทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมทั้งหมดด้วยการรณารงค์เรื่องวิถีชีวิต ทำให้เกิดความตระหนักในอันตรายของอาหารที่ทำให้เกิดความอ้วน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยง ลดพุงลดโรคโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคียนต.นาปะขออ.บางแก้ว
จ.พัทลุงปี ๒๕๖๔ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงรวมถึงประชาชนทั่วไปให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรคและสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/อ้วนลงพุง และกลุ่มป่วยให้ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ร้อยละ ๗๐

0.00
2 เพื่อสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรม ๓ อ. ๒ ส.

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการกำกับพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ร้อยละ ๗๐

0.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยโรคเบาหวาน /โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

มีอัตราป่วยโรคเบาหวาน /โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๒๐

0.00
4 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคอ้วนลงพุง

ผู้มีค่าความดันโลหิตสูง  ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถลภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคอ้วนลงพุง ร้อยละ ๒๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 170
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/08/2021

กำหนดเสร็จ 27/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต, กลุ่มป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตส฿งเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง หมู่ ๖ หมู่ ๘ และหมู่ ๑๓ ตำบลนาปะขอ อ.บางแก้ว จำนวน ๑๐๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต, กลุ่มป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตส฿งเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง หมู่ ๖ หมู่ ๘ และหมู่ ๑๓ ตำบลนาปะขอ อ.บางแก้ว จำนวน ๑๐๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.ค่าวิทยากร ๖๐๐X ๕ ชมX ๒ รุ่น                 = ๖,๐๐๐ บาท ..ค่าอาหารกลางวัน  ๖๐ บาทX๕๐ คนX๒ รุ่น   =  ๖,๐๐๐ บาท -.ค่าอาหาว่าง ๒๕ บาทX๕๐ คน X๒มื้อX ๒ รุ่น  = ๕,๐๐๐ บาท -ค่าป้ายโครงการฯ ๑ เมตร.X ๓ เมตร X ๑ ป้าย  =    ๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นประชาชนใน หมู่ ๖ หมู่ ๘ และหมู่ ๑๓ ตำบลนาปะขออ.บางแก้ว จำนวน ๗๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงซึ่งเป็นประชาชนใน หมู่ ๖ หมู่ ๘ และหมู่ ๑๓ ตำบลนาปะขออ.บางแก้ว จำนวน ๗๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.ค่าวิทยากร ๖๐๐บาทX๒ คนX.๓ ชม. X ๒ รุ่น    = ๗,๒๐๐ บาท .ค่าอาหารกลางวัน=๖๐ บาทX๓๕ คนX๒  รุ่น    = ๔,๒๐๐ บาท -ค่าอาหาว่าง ๒๕บาทX ๓๕ คนX ๒ มื้อX๒ รุ่น     = ๓,๕๐๐  บาท --ค่าป้ายโครงการ  ๑ ม.X ๓ เมตรX๑ ป้าย.         =   ๖๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 25 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองสามารถเป็นแบบอย่างในการสร้างพฤติกรรมที่ถูกต้องในการดูแล ตนเอง ครอบครัว ร้อยละ ๗๐
- ผู้เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการกำกับพฤติกรรมสุขภาพของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ร้อยละ ๗๐
- มีอัตราป่วยโรคเบาหวาน /โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ร้อยละ ๒๐
- ผู้มีค่าความดันโลหิตสูง มีระดับความดันโลหิตลดลง ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถลดภาวะแทรกซ้อน
ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคอ้วนลงพุง ร้อยละ ๒๐


>